Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2114
Title: การใช้ แผนการใช้ที่ดินระดับตำบล แบบบูรณาการ กรณีศึกษา ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
Other Titles: Utilization of integrated Sub-district land use plan : a case study in NongNamSai Sub-district, Watthana Nakhon District, Sa Kaeo Province
Authors: บำพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรภา นาเมือง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การใช้ที่ดิน--ไทย--สระแก้ว
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจ สังคม ของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว (2) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรเพื่อการจัดทำแผนการใช้ที่ดิน (3) ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ต่อการบูรณาการแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการ (4) ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ต่อผลการนำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ (5) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ต่อผล การนำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ (6) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะ ของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกร ร้อยละ 73.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ย 283,769 บาท/ปี มีรายจ่าย เฉลี่ย 149,856 บาท/ปี ผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ร้อยละ 36.6 เป็นข้าราชการ มีประสบการณ์ในการทำงานภาคการเกษตร มากกว่า 10 ปีขึ้นไป (2) เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรเพื่อการจัดทาแผนการใช้ที่ดินในระดับมากที่สุด (3) เกษตรกร มีความคิดเห็น ต่อการบูรณาการแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในระดับมากที่สุดส่วนผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็น ในระดับมาก (4) ความคิดเห็นของเกษตรกร ต่อผลการนาแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการไปสู่การปฏิบัติในระดับมากที่สุดส่วน ผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็น ในระดับมาก (5) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง ต่อผล การนำแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ พบว่า เกษตรกรมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกประเด็น แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นในระดับปานกลาง ในเรื่องของการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการผลิต การจัดหาตลาดรองรับสินค้า การจัดหาแหล่งศึกษาดูงาน การประกวดและมอบรางวัลให้กับกลุ่มที่เข้มแข็ง (6) ปัญหา ของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการพบว่า เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อปัญหาที่พบใน การใช้แผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการใน ระดับน้อย โดยมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรในแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินงาน สาหรับผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้แผนการใช้ที่ดินระดับตำบลแบบบูรณาการในระดับปานกลางและ มีข้อเสนอแนะให้ หน่วยงานต้นสังกัดจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2114
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134533.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons