Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2118
Title: ความคิดเห็นและการตัดสินใจใช้รถดำนาเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวแพร่
Other Titles: Opinions and decision making toward the use of transplant rice seedling machine for rice seed production by rice seed production groups of Phrae Rice Seed Center
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน,อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญเศรษฐ์ มีมานะ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--เมล็ดพันธุ์--การผลิต
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (3) ความคิดเห็นและการตัดสินใจใช้รถดำนา (4) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคการใช้รถดำนา และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้รถดำนาของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.3 ปี จบศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.98 คน มีแรงงานเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.13ราย พื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 14.99 ไร่ อาชีพหลักทำการเกษตร อาชีพรองรับจ้าง มีรายได้ครัวเรือน เฉลี่ย 196,000บาทต่อปี มีหนี้สิน แหล่งสินเชื่อส่วนมากมาจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่ม เฉลี่ยน้อยกว่า 5 ปี และ หน่วยงานสนับสนุน มากกว่าหนึ่งหน่วยงาน (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 82 ขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจการผลิตเมล็ดพันธุ์ ใน ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 13.65 (3) ความคิดเห็นการตัดสินใจใช้รถดำนา ด้านการส่งเสริมผลิตเมล็ดพันธุ์และรถดำนา ภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ด้านการใช้รถดำนา อยู่ในระดับมาก และด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ อยู่ในระดับปานกลาง (4) จุดแข็งได้แก่ ลดต้นทุนค่าแรงงาน ประหยัดเมล็ดพันธุ์ จุดอ่อนได้แก่ รถดำนามีราคาค่อนข้างแพง ต้องเตรียมกล้าปริมาณให้เพียงพอต่อการปลูก โอกาส ความต้องการใช้รถดานาภายในประเทศสูง สร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกรเช่น การเพาะกล้า รับจ้างปักดา อุปสรรค ขาดการรับข้อมูลข่าวสาร ขาดการจัดการแปลงนาของเกษตรกร (5) ปัญหา พบว่า เกษตรกรขาด ความรู้ ความเข้าใจ การใช้รถดำนา การบริการหลังขายที่ไม่ดีพอ ขาดแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ข้อเสนอแนะ ให้หน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน ควรกำหนดแนวทางส่งเสริม ฝึกอบรมให้ความรู้ แก่เกษตรกร ทุกๆ ด้าน และบริษัทควร จัดหาอะไหล่ ให้เพียงพอกับความต้องการ และสนับสนุน กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ จัดตั้งกองทุนสินเชื่อเพื่อการผลิต ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2118
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134539.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons