Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2119
Title: | การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | The operations of community enterprises in Don Chedi District of Suphan Buri Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา บุญเตือน กอกุลจันทร์, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ วิสาหกิจชุมชน--ไทย--สุพรรณบุรี วิสาหกิจชุมชน--การบริหาร |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน (2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.9 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกทั้งหมดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่มีระยะการเป็นสมาชิก 6 ปีขึ้นไป เคยเข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 2.37 ครั้ง ร้อยละ 82.1 มีสมาชิกในครัวเรือน 3-5 ราย ร้อยละ 90.5 ประกอบอาชีพทาการเกษตร โดยร้อยละ 67.9 ทำนา รายได้จากอาชีพหลัก เฉลี่ยมีรายได้ 174,607.14 บาทต่อปี ร้อยละ 89.9 มีการระดมทุน/หุ้น ร้อยละ 57.2 มีการรวมทุน/หุ้นน้อยกว่า 100 บาท ร้อยละ 61.9 มีสวัสดิการการกู้ยืม ร้อยละ 46.1 มีการกู้ยืม จำนวนเงินกู้ยืมน้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 92.3 ชำระเงินคืนครั้งเดียว ร้อยละ 81.0 มีสวัสดิการในชุมชน ร้อยละ 64.7 มีสวัสดิการทาบุญเลี้ยงพระเทศกาลสาคัญและงานฌาปนกิจ วิสาหกิจชุมชนปันผลให้สมาชิกในปีที่ผ่านมา วิสาหกิจชุมชนไม่ได้รับปันผลร้อยละ 22.2 เพราะเงินกลุ่มน้อย และร้อยละ 5.5 เงินสะสมเข้ากลุ่ม ส่วนวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับปันผล ร้อยละ 38.8 ปันผลโดยวิธีตามหุ้นและร้อยละ 33.3 ปันผลโดยวิธีตามหุ้นประโยชน์ที่ได้รับจากวิสาหกิจชุมชนร้อยละ 65.5 ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ร้อยละ 50.0 ได้รวมกันทางานเป็นกลุ่มและมีความสามัคคีร่วมกัน 2) การดำเนินวิสาหกิจชุมชนโดยภาพรวมคณะกรรมการและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความเห็นว่าวิสาหกิจชุมชน มีการดำเนินงานในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การบริหารจัดการ การตลาด การผลิต และการเงิน 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงาน ไม่มีการกาหนดเป้าหมายและทิศทางที่แน่นอน มีต้นทุนการผลิตสูง ขาดการประชาสัมพันธ์การตลาด ขาดเงินทุนหมุนเวียน ข้อเสนอแนะได้แก่ มีการประชุมเพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนและนำไปปฏิบัติได้ ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาและวัตถุดิบในพื้นที่ในการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต ควรมีการศึกษาแนวโน้มของตลาด ศึกษาดูงานในกลุ่มที่ประสบความสาเร็จ มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้วิสาหกิจชุมชนเป็นที่รู้จักและเข้าถึงแหล่งเงินทุน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2119 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
135038.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License