Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2138
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ของหมอดินอาสา จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Factors relating to adoption of super LDD 2 microbial activator by soil improvement volunteers in Nonthaburi Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภวรรณ รัฐกิจวิจารณ์ ณ นคร, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การปรับปรุงดิน
ปุ๋ยหมัก--การผลิต
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของหมอดินอาสา (2) การรับการส่งเสริมและความรู้พื้นฐานของหมอดินอาสา (3) แรงจูงใจในการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ของหมอดินอาสา (4) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางสังคมและเศรษฐกิจกับการยอมรับการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด 2 ของหมอดินอาสา และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ของหมอดินอาสา ผลการวิจัยพบว่า (1) หมอดินอาสาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.33 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.39 คน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 10.43 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ในปีที่ผ่านมามีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 113,320.67 บาท มีประสบการณ์ในการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เฉลี่ย 4.64 ปี ได้รับการฝึกอบรมการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เฉลี่ย 2.12 ปี และหมอดินอาสาทั้งหมดใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกันในการทาการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง (2) หมอดินอาสามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2 ในระดับมาก (3) แรงจูงใจเกี่ยวกับการยอมรับการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 อยู่ในระดับมากในทุกๆ ด้าน เรียงลำดับดังนี้ คือ ด้านวิธีการผลิต ด้านการนาไปใช้ประโยชน์ ด้านวิธีการใช้ และด้านการเผยแพร่ (4) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ อายุและความรู้เรื่องการใช้ มีความสัมพันธ์กับด้านเผยแพร่ต่อการยอมรับการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในส่วนของอายุและการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์กับด้านการนาไปใช้ประโยชน์ ด้านประสบการณ์ในการใช้ มีความสัมพันธ์กับด้านเผยแพร่ ด้านการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์กับด้านวิธีการผลิต (5) หมอดินอาสามีปัญหาด้านการเผยแพร่ความรู้ โดยมีข้อเสนอแนะให้กรมพัฒนาที่ดินควรพาไปดูงานเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.2 ที่ประสบผลสำเร็จ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2138
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135251.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons