Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2141
Title: การผลิตกล้วยไม้สกุลหวายของเกษตรกร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Other Titles: Dendrobium orchid production by farmers in Sampran District of Nakhon Pathom Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพร จีนประชา, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
หวาย (กล้วยไม้)--การเลี้ยง
กล้วยไม้--การเลี้ยง
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การผลิตกล้วยไม้สกุลหวายของเกษตรกร (3) ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไม้สกุลหวาย ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 68.5 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.89 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.12 คน มีประสบการณ์ในการผลิตเฉลี่ย 17.62 ปี เกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตกล้วยไม้สกุลหวาย เกษตรกรทั้งหมดมีสื่อในครัวเรือน คือ โทรทัศน์ และ วิทยุ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร แรงงานในครัวเรือนส่วนใหญ่ 3 คน แรงงานจ้าง 3 คน พื้นที่ผลิตเฉลี่ย 23.82ไร่ และเป็นพื้นของตนเองบางส่วนและเป็นพื้นที่เช่าบางส่วน แหล่งเงินทุนของเกษตรกรทั้งหมดมาจากเงินทุนของตนเอง (2) เกษตรกรทั้งหมดใช้ซาแลนพรางแสง ส่วนใหญ่ความเข้ม 50 – 60% ใช้เสาคอนกรีต และโต๊ะทำด้วยเสาคอนกรีตพื้นโต๊ะทาด้วยสายโทรศัพท์ วัสดุปลูกใช้กาบมะพร้าวเรือใบ ระยะเวลาใช้เครื่องปลูก 4 ปี พันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่ คือ บอมโจแดง ต้นพันธุ์จากการแยกลา เกษตรกรทั้งหมดขยายพันธุ์ด้วยเอง การให้น้าส่วนใหญ่ใช้สปริงเกอร์ และใช้น้าจากแม่น้า เกษตรกรทั้งหมดใช้ปุ๋ยเคมี สูตร30-20-10 แมลงและสัตว์ศัตรูพืชสาคัญที่พบ ได้แก่ เพลี้ยไฟ และบั่วกล้วยไม้ โรคสาคัญที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคเน่าดา การป้องกันกาจัดโดยใช้สารเคมี เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเวลาเช้า โดยเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีดอกบานไม่น้อยกว่า 4 ดอก การจำหน่ายต่างประเทศทั้งหมดคัดเกรดกล้วยไม้ ส่วนใหญ่ 4 เกรด ผลผลิตส่วนใหญ่จำหน่ายที่ประเทศอิตาลี (3) เกษตรกรมีความต้องการ ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตกล้วยไม้สกุลหวาย อยู่ในระดับมาก ในเรื่องวัตถุอันตรายทางการเกษตร และการรวมกลุ่มเกษตรกร ช่องทางและวิธีการในการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตกล้วยไม้สกุลหวาย ส่วนใหญ่ต้องการความรู้บุคคลจากหน่วยงานราชการ ผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ และคู่มือ วิธีการส่งเสริมที่ต้องการคือ การศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติ และการบรรยาย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2141
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135254.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons