กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2153
ชื่อเรื่อง: การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ในการดำเนินชีวิต : กรณีศึกษากลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านใหม่สามัคคี ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of the philosophy of sufficiency economy to daily living : a case study of Banmaisamakkee Cooperatives Production Groups, Maessook Subdivision, Jachom District, Lumpang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โอภาวดี เข็มทอง
สนิท หิรัญพิพัฒน์พงศ์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
เศรษฐกิจพอเพียง
เกษตรกร--การดำเนินชีวิต
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อศึกษาการนําแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ในการค้าเนินชีวิต การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และความคิดเห็นการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อระดับการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองของกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านใหม่สามัคคี การศึกษาเรื่อง การนําแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ในการดำเนินรีวิต: กรณีศึกษากลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านใหม่สามัคคี ตำบลแม่สุกอำเภอแจ้งห่ม จังหวัดลำปาง เป็นกรณีศึกษาเชิงปริมาณ เชิงสํารวจ มีกรอบแนวคิด ประกอบด้วยตัวแปรส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิก ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพหลักอาชีพรอง สถานภาพทางเศรษฐกิจ การออม หนี้สิน แหล่งรับรู้ข้อมูล จํานวนสมาชิกในครัวเรือน ตัวแปรหลัก ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ในการดำเนินชีวิต การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรสแล้ว ระดับประถมศึกษา อาชีพหลักทํานา อาชีพรองรับจ้างทั่วไป รายได้จากอาชีพหลักระหว่าง 20,001-30,000 บาทต่อปี รายได้จากอาชีพรอง ระหว่าง 10,000-20,000 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายจากอาชีพหลักและอาชีพรองส่วนมากต่ำกว่า 5,000 บาทต่อปี สถานภาพทางเศรษฐกิจ มีรายได้มากกว่ารายจ่ายแต่มีหนี้สิน ด้านการออมเงินส่วนมาก มีเงินออมต่ำกว่า 5,000 บาท ด้านหนี้สินมีหนี้สินต่ำกว่า 40,000 บาท แหล่งรับข้อมูลจากโทรทัศน์ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน 2) สมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.40 รู้และเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) สมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.47 ได้นำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ในการดำเนินชีวิต 4) สมาชิกส่วนใหญ่มีระดับการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองอยู่ในระดับมาก 5) สมาชิกส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองระดับมากที่สุด 6) สมาชิกส่วนมากที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีระดับการน่าแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองไม่แตกต่างกัน 7) สมาชิกส่วนใหญ่ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีระดับความคิดเห็นการนําแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง แตกต่างกันเล็กน้อย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2153
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext-113542.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons