Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2154
Title: | การใช้สารเคมีในนาข้าวของเกษตรกรอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง |
Other Titles: | The application of chemicals in rice fields by farmers in Samko District of Angthong Province |
Authors: | ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา จิราภรณ์ ศรีเทศ, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ สารเคมีทางการเกษตร ยากำจัดศัตรูพืช ข้าว--การปลูก |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ดังนี้ 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การใช้สารเคมีในนาข้าวของเกษตรกร 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.17 คน มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 19.80 ปี มีประสบการณ์ในการใช้สารเคมีในนาข้าวเฉลี่ย 12.57 ปี จำนวนครั้งในการปลูกข้าวในรอบปีเฉลี่ยจำนวน 2.05 ครั้ง ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในนาข้าวจากตัวแทนร้านจำหน่ายสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่เป็นแรงงานในการทำนาเฉลี่ย 1.92 ราย มีจำนวนแรงงานจ้างในการทำนาเฉลี่ย 7.65 ราย อัตราค่าจ้างแรงงานในการทำนาเฉลี่ย 318.67 บาทต่อวัน พื้นที่ทำนาทั้งหมดเฉลี่ย 25.93 ไร่ ราคาผลผลิตในรอบนาปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 11.76 บาท/กิโลกรัม ราคาผลผลิตในรอบนาปรังที่ผ่านมา เฉลี่ย 12.14 บาท/กิโลกรัม มีรายได้ทั้งสิ้นในการทำนาปีเฉลี่ย 8,945.97 บาท/ไร่ และมีรายได้ทั้งสิ้นในการทำนาปรัง เฉลี่ย 8,556.17 บาท/ไร่ มีรายจ่ายทั้งสิ้นในการทำนาปีเฉลี่ย 4,189.61 บาท/ไร่ มีรายจ่ายทั้งสิ้นในการทำนาปรัง เฉลี่ย 4,513.65 บาท/ไร่ 2) การเลือกใช้สารเคมีและปริมาณการใช้สารเคมี เกษตรกรมีการปฏิบัติถูกต้องตามคำแนะนำในระดับมาก และการเก็บรักษาสารเคมี/การจัดการ เกษตรกรมีการปฏิบัติถูกต้องตามคำแนะนำในระดับมาก เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีในนาข้าวตามอัตราแนะนา โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการฉีดพ่นในช่วงเช้า ตามช่วงอายุข้าวที่แนะนา และใช้ในฤดูนาปีและนาปรัง 3) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีปัญหาสารเคมีมีราคาแพง โรคและแมลงดื้อยา อัตราการใช้ได้ผลเฉพาะครั้งแรก ไม่มีสถานที่ทำลายสารเคมี ดังนั้นเกษตรจึงเสนอแนะว่า ควรมีมาตรการลดภาษีนำเข้าสารเคมีทางการเกษตร ควรมีการทดลองปรับอัตราการใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับโรคและแมลง และรัฐควรจัดหาสถานที่ในการทำลายสารเคมีทางการเกษตรโดยเฉพาะ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2154 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
135262.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License