Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2165
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Factors affecting job burnout of professional nurses in Suratthani Hospital |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา จุฑารัตน์ แซ่ล้อ, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) การทำงาน -- แง่จิตวิทยา พยาบาล |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายใน งานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฎิบัติงานให้บริการผู้ป่วย โดยตรง ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ตอน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความเข็มแข็งอดทน ซึ่ง ดัดแปลงจากแบบวัดความเข็มแข็งอดทนของ สุธิดา เรืองเพ็ง 3) การเสริมสร้างพลังอำนาจสร้าง จากแนวคิดของคานเตอร์ และ 4) ความเหนื่อยหน่ายในงานซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดของแมส แลช แบบสอบถามตอนที่ 2-4 ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่า ดัชนีความตรงตามเนี้อหาเท่ากับ เท่ากับ .91, .95 และ .88 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94, .98 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในงาน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (r = .591) ความเข็มแข็งอดทนและการเสริมสร้างพลังอำนาจ มี ความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยหน่ายในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = - .662 และ -.567) อายุ ความเข็มแข็งอดทนและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน สามารถร่วมกันทำนาย ความเหนื่อยหน่ายในงานได้ร้อยละ 61.3 (R2 = .631) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยอายุมี อิทธิพลสูงสุด (Beta = .4O8) รองลงมาคือความเข็มแข็งอดทน (Beta = .358) ส่วนการเสริมสร้างพลัง อำนาจมีอิทธิพลต่ำสุด (Beta = .239) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อลดความ เหนื่อยหน่ายในงาน โดยเฉพาะในกลุ่มบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูงเพื่อป้องกันการ เกิดความเหนื่อยหน่ายในงานและลาออกจากงานในที่สุด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2165 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib142795.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License