กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2180
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอ 5 ประเทศในอาเซียน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of comparative advantage of exports of textile industry of five countries in ASEAN |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนีย์ ศีลพิพัฒน์ อิษฎา เหล่าสุนทรากุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี อุตสาหกรรมสิ่งทอ--การส่งออก.--กลุ่มประเทศอาเซียน การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ การส่งออก--กลุ่มประเทศอาเซียน |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยและข้อมูลโดยทั่วไปของอุตสาหกรรม 2) ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏในการค้าของอุตสาหกรรมสิ่งทอ 5 ประเทศในอาเซียน คือ ไทย มาเลย์เชีย สิงคโปร์ อินโดนิเชีย และ ฟิลิปปินส์ และ 3) วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ที่มีต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอไทย วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ ตั้งแต่พ.ศ.2542-2552 ร่วมกับทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศแนวใหม่ และวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยมีการผลิตอย่างครบวงจรตั้งแต่การปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อมพิมพ์ และตัดเย็บสินค้าสาเร็จรูป 2) การเปรียบเทียบ 5 ประเทศที่ศึกษา ไทยมีคู่แข่งด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอเพียงประเทศเดียวคือ อินโดนิเชีย ที่เหลืออีก 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลย์เชีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ สามารถเป็นคู่ค้าได้ และ 3) จากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ที่มีค่าอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยพบว่าอาเซียนจะเป็นตลาดส่งออกที่สาคัญในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะสิ่งทอประเภทกลางน้าและต้นน้า อันประกอบไปด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย และผ้าผืน เนื่องจากไทยมีข้อได้เปรียบหลายประการทั้งเทคโนโลยีการผลิต ประสบการณ์ ที่มากกว่าประเทศในกลุ่ม ทั้งต้นทุนการขนส่ง และปัจจัยทางด้านภาษีจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ทั้งนี้การบรรลุเป้าหมายต้องเกิดจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐที่คอยสนับสนุนด้านข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อผู้ประกอบการสามารถวางแผนและกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยา นักวิชาการที่คอยช่วยพัฒนาเทคโนโลยี กระทั่งแรงงานที่เป็นส่วนสนับสนุนให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2180 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
123103.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License