Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2183
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้สินของเกษตรกรต่อ ธ.ก.ส. : กรณีศึกษาเกษตรกรสาขาคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: Factors affecting farmers loan repayment : a case study of bank for agriculture and agricultural cooperatives, Khon Sawan Branch, Chaiyaphum Province
Authors: คุลสินี มุทธากสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัศราวุธ แขนสันเทียะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระหนี้
เกษตรกร--ไทย--ชัยภูมิ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้สินของเกษตรกรต่อ ธ.ก.ส. : กรณีศึกษาธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาคอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อ (1) ศึกษาสภาพของลูกหนี้และการชำระหนี้สินของเกษตรกรที่สามารถชำระหนี้ได้และไม่สามารถชำระหนี้ ได้ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้สินของเกษตรกร (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการชำระหนี้ ของเกษตรกร จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างลูกค้าเกษตรกรสาขาคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ทั้งหมด 400 คน เป็นเพศชาย 307 คน คิดเป็นร้อยละ 76.8 เพศหญิง 93 คน คิดเป็นร้อยละ 23.3 อายุเฉลี่ย ประมาณ 50 ปี ลูกค้าเกษตรกรร้อยละ 70 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีรายได้การเกษตรเฉลี่ย 153,625 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 48,039.77 บาท ค่าใช้จ่ายการเกษตรเฉลี่ย 90,062.50 บาท ค่าใช้จ่ายนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 34,687.50 บาท มีเงินออมเฉลี่ย 3,616.45 บาท ผลการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่ลูกค้าเกษตรกรสามารถชำระหนี้ได้เป็นปกติคือสามารถชำระหนี้ได้ทุกสัญญา ลูกค้าที่ สามารถชำระหนี้ได้เป็นปกติคือการชำระหนี้ทุกสัญญา (คาบเดือนธันวาคม 2551) คิดเป็นร้อยละ 90.75 (จำนวน 363 คน) ลูกค้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้คิดเป็นร้อยละ 9.25 (จำนวน 37 คน) โดยลูกค้าที่ไม่ สามารถชำระหนี้ได้เป็นลักษณะการค้างชำระบางสัญญาเท่านั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้สินของเกษตรกร คือ ปัจจัยระดับราคาสินค้าเกษตร รองลงมาคือ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสูง และผลผลิตการเกษตรเสียหาย ซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้ลูกค้าเกษตรกรใม่สามารถ ชำระหนี้ได้หรือชำระไม่ตรงตามกำหนด โดยปัจจัยค่าใช้จ่ายนอกภาคการเกษตร และเงินออมมีอิทธิพล ต่อการชำระหนี้ต่อ ธ.ก.ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่า R Square เท่ากับ 0.6245 ในขณะที่ค่าใช้จ่าย นอกภาคการเกษตรมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.127 และปริมาณเงินออมมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 1.829 ส่วนปัญหาและอุปสรรคการชำระหนี้ของเกษตรกร คือ การขาดการส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร การไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร และการขาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเงินออม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2183
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128461.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons