Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2191
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโอภาวดี เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิรัตน์ กาฬเทพ, 2504--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-21T02:38:17Z-
dc.date.available2022-11-21T02:38:17Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2191-
dc.description.abstractปัจจุบันสหกรณ์ประสบปัญหาด้านการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้นเนื่องจากมีคู่แข่งขันจำนวนมากที่ใช้การตลาดแบบขายตรงเท่านั้น ยังขาดผู้นำที่จะคิดริเริ่มใช้จุดแข็งของความเป็นสหกรณ์มาขยายเครือข่ายไปเชื่อมโยงกับสหกรณ์หรือกลุ่ม/องค์กรประชาชนอื่นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจแบบยั่งยืนในระยะยาว ผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดว่าการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศได้ จากแนวคิดดังกล่าวผู้ศึกษาจึงได้จำลองให้ปลัด อบต.เป็นสหกรณ์ อบต.ตำบลละ 1 แห่ง แล้วจำลองให้ตัวผู้ศึกษาเป็นสหกรณ์แห่งหนึ่งที่ต้องการแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจปุ๋ยของสหกรณ์ จึงขอใช้บริการเครือข่ายเชื่อมโยงจากสหกรณ์ อบต. การศึกษาวิจัย โดยประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 ครั้ง ซึ่งผลการศึกษา ได้แนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงช่วยเหลือปุ๋ยให้กับเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี โดยสรุปเป็นโมเดลได้ 3 ขั้น คือ (1) ขั้นเตรียมการ เป็นประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการ มีการประชุมระดมสมอง เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในธุรกิจจำหน่ายปุ๋ย วิเคราะห์ศักยภาพสมาชิกเครือข่าย เพื่อหาแนวทางการและประเมินความเป็นไปได้ของการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง (ผลสำเร็จ/ล้มเหลว) ตลอดจนคัดเลือกกลุ่ม/องค์กรประชาชน/เกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ (2) ขั้นก่อเกิด โดยจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สนทนาหาจุดประสานผลประโยชน์ร่วมกันแบบ win-win พร้อมกับฝึกอบรมให้สมาชิกเครือข่าย และจัดทำแผนปฏิบัติงานของเครือข่าย (3) ขั้นดำเนินการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง เป็นการทดลองปฏิบัติงานสร้างเครือข่าย โดยสำรวจความต้องการใช้ปุ๋ยจากเกษตรกร การศึกษาครั้งนี้มีข้อจํากัดด้านเวลาเพียง 4 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาสามารถค้นพบแนวทางการสร้างเครือข่าย และสามารถทดลองสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง ซึ่งเครือข่ายประสบผลสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ผลการวิเคราะห์ของสมาชิกเครือข่าย สรุปว่า “เครือข่ายมีความเป็นไปได้ ตัวชี้วัดที่ 2 มีปลัด อบต. สมัครใจเข้าร่วมเครือข่ายมากกว่า 20 ตำบล ตัวชี้วัดที่ 3 ผลการปฏิบัติการสร้างเครือข่ายรวบรวมความต้องการใช้ปุ๋ยจากเกษตรกรได้ 1 ตำบล แต่หากขยายระยะเวลาการวิจัยอาจทําให้เห็นผลการดำเนินงานสร้างเครือข่ายที่แท้จริงมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเครือข่ายธุรกิจ--ไทย--อุดรธานีth_TH
dc.subjectสหกรณ์การเกษตร--ไทย--อุดรธานีth_TH
dc.subjectปุ๋ยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleแนวทางการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงช่วยเหลือปุ๋ยให้กับเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานีth_TH
dc.title.alternativeDeveloping organic fertilizer network for farmers in Udonthani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext-113561.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons