Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนงค์คราญ ขมินทกูล-
dc.date.accessioned2022-11-23T07:05:48Z-
dc.date.available2022-11-23T07:05:48Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2211-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางบํารุง ผิวหน้า 2) พฤติกรรมการซื้อเครื่องสําอางบํารุงผิวหน้า 3) ปัจจัยกำหนดอุปสงค์และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ เครื่องสําอางบํารุงผิวหน้า และ 4) ปัจจัยประกอบการตัดสินใจในการซื้อเครื่องสําอางบํารุงผิวหน้าของผู้บริโภคใน เขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคใน เขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ที่จํานวน 400 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ปัจจัย การตัดสินใจในการซื้อใช้สมการการถดถอยโลจิสติก การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องสําอาง ใช้ ความถี่ ร้อยละ และไคสแควร์ การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดอุปสงค์และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ใช้สมการถดถอย เชิงพหุคูณ การวิเคราะห์ปัจจัยประกอบการตัดสินใจผู้ที่ซื้อ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการทดสอบแบบเอฟ โดยมีการทดสอบสมมุติฐานที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางบํารุงผิวหน้าของผู้บริโภคที่อย่าง มีนัยสําคัญ มีเฉพาะเพศ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งการกำหนด เท่ากับ 0.772 2) ผู้บริโภคส่วนมากซื้อเครื่องสําอาง บํารุงผิวหน้าไม่เกิน 1 ครั้ง/เดือน ใช้จ่ายในการซื้อ ครั้งละ 1,001-1,500.- บาท ให้ความสําคัญกับครีมบํารุงผิวหน้า (ครีมกลางวัน-กลางคืน) ครีมกันแดด ครีมรักษาสิว ฝ้า กระ ครีมลดรอยเหี่ยวย่น และครีมบํารุงใต้ดวงตา ตามลําดับ และซื้อจากห้างค้าปลีก เคาท์เตอร์เครื่องสําอาง ร้านสะดวกซื้อ และการขายตรง ตามลําดับ สื่อที่มีผลต่อ การรับรู้ ได้แก่ ป้ายโฆษณา/ป้ายร้านแผนพับ/ใบปลิว วิทยุ/โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์/วารสาร ตามลําดับ เหตุผล ที่ใช้เนื่องจากการแนะนําของเพื่อนหรือคนรู้จัก โฆษณาผ่านสื่อเพื่อเพิ่มความมั่นใจ และเพิ่มความงาม ตามลําดับ นอกจากนี้พบว่ามูลค่าที่ซื้อเฉลี่ยต่อครั้งขึ้นอยู่กับเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้และรายจ่ายต่อเดือน สถานภาพ สมรส และอาชีพ และความถี่ในการซื้อ ประเภทที่ซื้อ แหล่งที่ซื้อ การรับรู้ผ่านสื่อ และเหตุผลที่ใช้ขึ้นอยู่กับเพศ อย่างมีนัยสําคัญ 3) ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ในการซื้อที่วัดในรูปของมูลค่าที่ซื้อเครื่องสําอางบํารุงผิวหน้าอย่างมี นัยสําคัญ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของผู้บริโภค โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งการ กำหนด เท่ากับ 0.847 ค่าความยืดหยุ่นของมูลค่าอุปสงค์ในการซื้อเครื่องสําอางต่อราคาและต่อรายได้ เท่ากับ 0.683 และ 0.207 ตามลําดับ และ 4) ค่าเฉลี่ยของปัจจัยประกอบการตัดสินใจด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัด จําหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญกับปัจจัยส่วนตัวของผู้บริโภค ยกเว้น ปัจจัยด้านราคาที่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศของผู้บริโภคth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเครื่องสำอางth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรth_TH
dc.title.alternativeThe behavior of consumers towards the facial cosmetic in the Kampaeng Phet Municipality Area, Kamphaeng Phet Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to examine: 1) the factor affecting the decision to purchase facial cosmetic; 2) the purchasing behavior of facial cosmetic; 3) the factors determining demand and the elasticity of demand for facial cosmetic; and 4) the complementary factors influencing decision to purchase facial cosmetic of the consumers in the Kamphaeng Phet Municipality area, Kamphaeng Phet Province. The study used questionnaire as a tool to collect data from 400 samples of consumers in the Kampaeng Phet Municipality Area, Kamphaeng Phet Province, through a simple random sampling method. Regarding data analysis, a logistic regression model was employed to investigate the factors decision to buy, frequency, percentage and chi-square were applied to explore the consumer purchasing behavior, a multiple regression model was utilized to examine the factors determining demand and the elasticity of demand, and mean, standard deviation used to study the complementary factors. Also, t-test and F-test were used to test the hypothesis at the significance level of 0.05. The results were as follows. 1). Gender was only the factors affecting the probability decision to purchase facial cosmetic of consumers, with a coefficient of determination at 0.772. 2) Majority of consumers bought the cosmetics less than 1 time per month, paid 1,001 - 1,500 baht, and focused on the facial treatment cosmetic (day–night cream), sunscreen, acne, blemish, freckles, reducing wrinkles cream and under eyes cream respectively); bought from retailers, cosmetics counters, convenience stores and direct sales respectively; perceived from influential media through advertising signboard, brochure/flyer, radio/TV, and newspaper/journal respectively. The consumers used cosmetics because of the introduction of friend/ acquaintance, advertisement to encourage their confidence and add their beauty respectively. The average value of purchasing per visit depended on gender, age, education, monthly income, monthly expenses, marital status, occupation, the frequency of purchase, type of purchase, source of purchase, media perception. Also, the reason to use the cosmetics was depended on gender. 3) Factors significantly determining demand in term of purchasing included age, education, income, and average monthly expenses of consumers, with the coefficient of determination at 0.847. The price and income elasticity of demand value were 0.683 and 0.207 respectively. 4) The mean of the factors affecting the decision in term of product, place and promotion did not show significantly difference with consumers’ personal factor of consumers, excepting that of price factor which revealed significantly difference between gendersen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
145813.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons