Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2227
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพร สัจจานันท, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรุ้งลาวัณย์ ชวนเกิดลาภ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-24T08:09:17Z-
dc.date.available2022-11-24T08:09:17Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2227-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความแตกต่างของการจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์ มวลรวมจังหวัดระหว่างวิธีทางตรงกับวิธีทางอ้อม 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระหว่างวิธีทางตรงกับวิธีทางอ้อม รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และ 3) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด การศึกษาใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างการผลิต มูลค่าเพิ่ม อัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความ แตกต่าง ปัญหาอุปสรรคและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ มวลรวมจังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งจัดเก็บด้วยวิธีทางตรงที่จัดทำโดยจังหวัดกำแพงเพชร และจัดเก็บด้วยวิธีทางอ้อมที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วนำมาคำนวณด้วยสูตรเปรียบเทียบความแตกต่างและการหาร้อยละความแตกต่างของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดด้วยวิธีทางตรงกับวิธี ทางอ้อมมีความแตกต่างกัน การจัดทำด้วยวิธีทางตรงใช้วิธีการจัดเก็บข้อมูลทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงใน พื้นที่และนำมาคำนวณหามูลค่า ส่วนวิธีทางอ้อมใช้วิธีการกระจายมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แตกย่อยออกมาเป็นมูลค่ารายจังหวัดตามสัดส่วนของตัวชี้วัดในสาขาการผลิตต่างๆ 2) ปัจจัยที่เป็น ตัวกำหนดความแตกต่าง คือ วิธีการจัดเก็บข้อมูล ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล รายละเอียด กิจกรรม การผลิตที่แตกต่างกัน รวมทั้งปีฐานที่นำมาคำนวณเพื่อหาอัตราการเติบโตมีความแตกต่างกัน ปัญหาของการจัดทำด้วยวิธีทางตรงคืองบประมาณเนื่องจากต้องจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากและกระจาย อยู่ตามพื้นที่อำเภอ หมู่บ้าน ตำบล ปัญหาของการจัดทำด้วยวิธีทางอ้อมคือด้านข้อมูลไม่มีรายละเอียด ของกิจกรรมย่อย และ 3) การใช้ประโยชน์พบว่าการจัดทำด้วยวิธีทางตรงโดยจัดเก็บรวมรวมข้อมูลที่ เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่ได้มีแนวโน้มสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีทางอ้อมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ--ไทย--กำแพงเพชรth_TH
dc.titleการวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดด้วยวิธีทางตรงกับวิธีทางอ้อม : กรณีศึกษาจังหวัดกำแพงเพชรth_TH
dc.title.alternativeA comparative analysis of the estimation of the gross provincial product between the bottom up and top down approaches : a case study of Kamphaeng Phet Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aims to: 1) analyze the difference of methodology estimating the Gross Provincial Product (GPP) between the bottom up and top down approaches; 2) analyze the factors determining the difference of Gross Provincial Products derived from the bottom up and top down approaches as well as problems and obstacles for the estimation; and 3) examine the application of Gross Provincial Product. The research method applied quantitative analyses to compare the production structure, value added of economic growth rate as well as descriptive analysis to indicate factors determining the difference, problems and obstacles, and the utilizations. The data used in the study, as a top down approach, obtained from Kamphaeng Phet province’s related agencies in 2010, and those as a top down one derived from Office of the National Economics and Social Development Board. Both data were calculated by formulas for comparing the difference and percentage. The research findings revealed that: 1) The estimation of GPP between the bottom up and top down approaches were different. The former collected concerning data from every actual activities occurred in the province. The latter used the Gross Domestic Product then was distributing to Gross Provincial Product according to each sub-sector indicator. 2) The factors determining the difference of GPP between both approaches were data collecting method, data collecting ability, details of production activities as well as the base year which was applied for calculating growth rates. The problem of the bottom up estimation was the budget because of a large volume of data as well as data distributed in districts, sub-districts, and villages. The problem of a top down estimation was insufficient detail of sub-activities. 3) For the application, the estimation of data collected from all actual activities in the province through a bottom up way tended to be consistent with real conditions and be used for provincial economic development planning than the top down oneen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140810.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons