Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2227
Title: การวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดด้วยวิธีทางตรงกับวิธีทางอ้อม : กรณีศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร
Other Titles: A comparative analysis of the estimation of the gross provincial product between the bottom up and top down approaches : a case study of Kamphaeng Phet Province
Authors: ศิริพร สัจจานันท, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ้งลาวัณย์ ชวนเกิดลาภ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ--ไทย--กำแพงเพชร
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความแตกต่างของการจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์ มวลรวมจังหวัดระหว่างวิธีทางตรงกับวิธีทางอ้อม 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระหว่างวิธีทางตรงกับวิธีทางอ้อม รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และ 3) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด การศึกษาใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างการผลิต มูลค่าเพิ่ม อัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความ แตกต่าง ปัญหาอุปสรรคและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ มวลรวมจังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งจัดเก็บด้วยวิธีทางตรงที่จัดทำโดยจังหวัดกำแพงเพชร และจัดเก็บด้วยวิธีทางอ้อมที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วนำมาคำนวณด้วยสูตรเปรียบเทียบความแตกต่างและการหาร้อยละความแตกต่างของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดด้วยวิธีทางตรงกับวิธี ทางอ้อมมีความแตกต่างกัน การจัดทำด้วยวิธีทางตรงใช้วิธีการจัดเก็บข้อมูลทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงใน พื้นที่และนำมาคำนวณหามูลค่า ส่วนวิธีทางอ้อมใช้วิธีการกระจายมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แตกย่อยออกมาเป็นมูลค่ารายจังหวัดตามสัดส่วนของตัวชี้วัดในสาขาการผลิตต่างๆ 2) ปัจจัยที่เป็น ตัวกำหนดความแตกต่าง คือ วิธีการจัดเก็บข้อมูล ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล รายละเอียด กิจกรรม การผลิตที่แตกต่างกัน รวมทั้งปีฐานที่นำมาคำนวณเพื่อหาอัตราการเติบโตมีความแตกต่างกัน ปัญหาของการจัดทำด้วยวิธีทางตรงคืองบประมาณเนื่องจากต้องจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากและกระจาย อยู่ตามพื้นที่อำเภอ หมู่บ้าน ตำบล ปัญหาของการจัดทำด้วยวิธีทางอ้อมคือด้านข้อมูลไม่มีรายละเอียด ของกิจกรรมย่อย และ 3) การใช้ประโยชน์พบว่าการจัดทำด้วยวิธีทางตรงโดยจัดเก็บรวมรวมข้อมูลที่ เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่ได้มีแนวโน้มสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีทางอ้อม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2227
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140810.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons