กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/222
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองภูมิปัญญาการนวดไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The protection of Thai massage wisdom
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม
ประวิช ราชกิจ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิต
วิมาน กฤตพลวิมาน
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
การนวด--ไทย
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องการคุ้มครองภูมิปัญญาการนวดไทย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา (1) ลักษณะหลักการแห่งสิทธิและแนวทางในการคุ้มครองภูมิปัญญาการนวดไทย (2) เพื่อวิเคราะห์ความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายของประเทศไทย ประเทศจีน อินเดีย และฟิลิปปินส์ในการคุ้มครององค์ความรู้ดั้งเดิม และภูมิปัญญาการนวด (3) เพื่อนำผลการวิเคราะห์มากำหนดเป็นองค์ความรู้ใหม่ และเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย และการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาการนวดไทย งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารเกี่ยวกับการคุ้มครองภูมิปัญญาดั้งเดิม และภูมิปัญญาการนวดของไทย และของต่างประเทศโดยศึกษาค้นคว้ารวบรวม ข้อมูลจากหนังสือ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์เอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันมีการเจรจาในเวทีระดับนานาชาติ รวมถึงองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) และองค์การค้าโลก (WTO) เพื่อหารือในประเด็นของการให้คุ้มครององค์ความรู้ดั้งเดิม ซึ่งประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องหากลไกลทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครององค์ความรู้ดั้งเดิมของตนเอง ระบอบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาปัจจุบันหรือระบบกฎหมายเฉพาะ สำหรับความเหมาะสมในการคุ้มครององค์ความรู้ดั้งเดิม ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงและยังไม่ยุติ แต่เป็นที่การยอมรับกันโดยทั่วไปว่าระบอบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิในองค์ความรู้ดั้งเดิมได้อย่างครอบคลุม ประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย และประเทศฟิลิปปินส์ ไม่มีกฎหมายเฉพาะ (sui generis) หรือความตกลงระหว่างประเทศในการคุ้มครององค์ความรู้ดั้งเดิม ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ภูมิปัญญาการนวดไทยเป็นการเฉพาะ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอให้มีกฎหมายคุ้มครองภูมิปัญญาการนวดไทย โดย การเสนอให้ (1) ขยายการคุ้มครองพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ให้คุ้มครองการ นวดไทย (2) เแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครอง และส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 (3) จัดทำร่างพระราชบัญญัติการนวดไทย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/222
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
tHESBIB143890.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons