Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2243
Title: | การวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์กลุ่มบริการการแพทย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Return and risk analysis of the health care service sector in stock exchange of Thailand |
Authors: | อภิญญา วนเศรษฐ สุวรรณา กลิ่นนาค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ความเสี่ยงทางการเงิน การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ อัตราผลตอบแทน |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์กลุ่มบริการการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงกับอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับของหลักทรัพย์กลุ่มบริการการแพทย์ภายใต้แบบจำลองการกำหนด ราคาหลักทรัพย์ 3) เป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มบริการการแพทย์ในการศึกษาจะใช้ข้อมูลราคาปิดของหลักทรัพย์กลุ่มบริการการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงสุด จำนวน 8 หลักทรัพย์ได้แก่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด มหาชน (BDMS) บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด มหาชน (BH) บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด มหาชน (BCH) บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด มหาชน (VIBHA) บริษัท โรงพยาบาลเอกชล จำกัด มหาชน (AHC) บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด มหาชน (CMR) บริษัท โรงพยาบาลนนทเวช จำกัด มหาชน (NTV) บริษัท ธนบุรี เมดิเคิลเซ็นเตอร์ จำกัด มหาชน (KDH) โดยใช้ข้อมูลราคาปิดรายเดือน 60 เดือนของหลักทรัพย์ระหว่างเดือนเมษายน 2553 ถึงเดือนเมษายน 2558 และใช้วิธียูนิทรูทเพื่อทดสอบความนิ่งของข้อมูลอนุกรมเวลาก่อนแล้วจึงประมาณความเสี่ยงจากหลักทรัพย์โดยการใช้แบบจำลองการกำหนด ราคาหลักทรัพย์ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักทรัพย์ AHC BCH BH NTV และ VIBHA อัตราผลตอบแทนของ หลักทรัพย์กับอัตราผลตอบแทนของตลาดมีความสัมพันธ์กัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่หลักทรัพย์ CMR KDH และ BDMS ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจึงไม่นำหลักทรัพย์ดังกล่าวมาคำนวณและอธิบายผลในการศึกษาครั้งนี้ 2) หลักทรัพย์ ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง E(Ri) สูงสุด คือ หลักทรัพย์ ACH เท่ากับ 1.32 มีค่าความเสี่ยงของหลักทรัพย์(βi) สูงสุด เท่ากับ 1.20 ในทำนองเดียวกันหลักทรัพย์ที่เหลือส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง E(Ri) สูง จะมีค่าความเสี่ยงของหลักทรัพย์สูง 3) เมื่อนำผลตอบแทนที่คาดหวัง E(Ri) กับค่าความเสี่ยงของหลักทรัพย์ (βi) มาหาความสัมพันธ์บนเส้นลาดหลักทรัพย์ พบว่า หลักทรัพย์ ACH NTV VIBHA และ BH มีค่าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ 1.32 1.30 1.11 และ 0.69 ตามลำดับ ซึ่งอยู่เหนือเส้นตลาดหลักทรัพย์มีราคาต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม จึงควรตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ก่อนที่ราคาของหลักทรัพย์จะปรับตัวสูงขึ้น |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2243 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
153821.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License