Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2247
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบุญถิ่น เดชสูงเนิน-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-28T07:43:52Z-
dc.date.available2022-11-28T07:43:52Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2247-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง อำเภอเสิงสาง (2) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการผลิตมันสำปะหลังของ เกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง อำเภอเสิงสาง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง อำเภอ เสิงสาง จำนวน 90 ราย คัดเลือกตัวแทนเกษตรกรที่มีความสมัครใจจากทุกตำบลของอำเภอเสิงสาง เข้าร่วมการจัดเสวนา และระดมสมอง และนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเสวนานี้รวมกับข้อมูลทุติยภูมิ มาจัดทำการวิเคราะห์ด้วยวิธี SWOT เป็น การวิเคราะห์โดยพิจารณาจากจุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาสที่กำลังเปิดให้ ( Opportunity) และอุปสรรค/ ข้อจำกัด (Threat) ของสภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มัน สำปะหลัง อำเภอเสิงสาง ผลการศึกษาพบว่า สภาพการผลิตของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มัน สำปะหลังของอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มันสำปะหลังจัดเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรใน อำเภอ เสิงสางค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีทรัพยากร สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่เหมาะสมในการผลิต มันสำปะหลัง โดยมีการใช้พันธุ์ที่มีเหมาะสม มีการใช้เทคโนโลยีการผลิต ได้แก่ ปรับปรุงบำรุงดิน มีการเตรียมดิน 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน มีการดูแลรักษา ได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมี และการกำจัดวัชพืช และเก็บเกี่ยวในช่วงที่มัน สำปะหลังมีอายุ 10-12 เดือน ในส่วนการวิเคราะห์ SWOT พบว่า (1) จุดแข็ง (Strength) มี 7 ประการคือ มีโรงแป้งมันและ ลานมันผู้ผลิตมันเส้น ทรัพยากรดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกพืช ปริมาณน้ำฝน เพียงพอตลอดฤดูการผลิตพืช การคมนาคมสะดวกต่อการขนส่งผลผลิต ประชาชนได้รับการดูแลจากภาครัฐดี องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้มแข็ง (2) จุดอ่อน (Weakness) มี 10 ประการคือ ราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตหัวมัน สำปะหลังสดออกมาก โรงแป้งไม่เพียงพอรองรับผลผลิต พื้นที่เพาะปลูกมีความลาดเอียง ปัญหาดินเสื่อมโทรม ปัญหา หนี้สิน ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ ปัญหาโรคและแมลงมันสำปะหลัง ปัญหาการขาดพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับ พื้นที่ ไม่มีสถาบันอุดมศึกษา แหล่งท่องเที่ยวขาดการพัฒนาและประชาสัมพันธ์ (3)โอกาส (Opportunity) มี 4 ประการคือ โครงการ UNSEAN THAILAND รัฐบาลมีโครงการรับจำนำผลผลิตมันสำปะหลัง อยูในเขตส่งเสริมการลงทุนด้าน อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง โครงการกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท ประชาชนมีการรวมกลุ่มเรียนรู้ (4) อุปสรรค/ข้อจำกัด (Threat) มี 5 ประการ คือ ความผันแปรของราคาสินค้าภาคการเกษตร เกษตรกรบางส่วนขาดที่ทำกิน พื้นที่เพาะปลูก อยู่ในเขตป่าสงวน น้ำมันราคาแพง กลุ่มอาชีพ กองทุนขาดการสนับสนุน ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางการพัฒนา โดยการ พัฒนาศักยภาพด้านการตลาด ด้านสภาพทางกายภาพ โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องการจัดการดินในพื้นที่ ลาดเอียง และพื้นที่ดินเสื่อมโทรม พัฒนาศักยภาพด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาศักยภาพด้านสภาพชีวภาพ และ พัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมันสำปะหลัง--การผลิตth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--ส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.titleสภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมาth_TH
dc.title.alternativeCassava production by farmers participating in the specific systems management project for cassava producing area in Serng Sang District of Nakhon Ratchasima Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study (1) cassava production circumstance by farmers participating in the Specific Systems Management Project for cassava producing area in Serng Sang District (2) guidelines for developing cassava production capacity by farmers participating in the Specific Systems Management Project for cassava producing area in Serng Sang District. The sample population was a number of 90 farmers participating in the Specific Systems Management Project for cassava producing area in Serng Sang District, selected from volunteer representatives of every sub-district in Serng Sang District through discussion panel and brainstorming. Data obtained from the panel together with secondary data were analyzed by SWOT considering from Strength, Weakness, Opportunity and Threat of cassava production circumstance by farmers participating in the Specific Systems Management Project for cassava producing area in Serng Sang District. From the study of cassava production circumstance by farmers participating in the Specific Systems Management Project for cassava producing area in Serng Sang District, it was found cassava was the economic crop that generated quite a high income for farmers in Serng Sang District due to suitable resources, geographic and climate condition for cassava production, particularly with suitable cassava plants and production technology such as soil improvement by soil preparation twice. They mostly planted during early of the rainy season and look after by using chemical fertilizer and eliminating weed flora. Harvest was done after 10-12 months of planting cassava. Findings from SWOT analysis were: (1) Strength; there were the following 7 items i.e. tapioca flour plants with cassava ground and cassava producers, fertile soil resources, sufficient water resources for planting, sufficient rainfall quantity throughout production season, convenient transportation for transferring cassava products, the public sector took good care of population and strong local administration organization. (2) Weakness; there were the following 10 items i.e. low price of products during a big lot of fresh cassava roots period, cassava flour plant was not sufficient to receive products, slope planting area, deterioration of soil, debts problems, land with no certificate of ownership, cassava diseases and insects, lack of good cassava varieties suitable with soil, none of higher education institution, needs of development and public relations for tourist attraction. (3) Opportunity; there were the following 4 items; UNSEEN THAILAND, the government project for cassava products pledging in the area of investment promotion for cassava industry, one million baht for Village Fund, forming up learning group. (4) Threat; there were the following 5 items; variances of agricultural products prices, some farmers’ lack of land for making their livings, planting area was in conserved forest, high cost of fuel, lack of fund support for occupation group. Guidelines for development could be concluded by developing marketing capacity, physical condition by providing knowledge on soil management in slope area and deterioration of soil, developing socio-economic capacity, developing bio capacity as well as developing educational capacityen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143496.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons