กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2262
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลการดำเนินงานกลุ่มอาชีพในสหกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ในจังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of Buriram Cooperatives Production Groups under supporting from cooperatives promotion department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โอภาวดี เข็มทอง
สันติ วิริยอุดมศิริ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ผู้ผลิต--ไทย--บุรีรัมย์
สหกรณ์การเกษตร--ไทย--บุรีรัมย์
การศึกษาอิสระ--ส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาผลการดำเนินงานกลุ่มอาชีพ ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 26 กลุ่มใน 19 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่ม 2) ศึกษาผลการ ดำเนินงานของกลุ่ม 3) ศึกษาแนวทางแกัไขในการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพในจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ศึกษา คือ ประธานกลุ่ม 26 กลุ่ม ใน 19 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์เครึ่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2552 สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบื่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มอาชีพในจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 26 กลุ่ม ส่วนใหญ่สังกัดสหกรณ์ ที่ตั้งกลุ่มอาศัย ผู้อื่นอยู่อาศัย มีการรวมกลุ่มกันเองและมีจำนวนสมาชิกกลุ่มเมื่อแรกตั้งเฉลี่ย 30 คนด่อกลุ่ม อาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ ในชุมชนมีอาชีพทำนา สภาพการคมนาคมระหว่างหมู่บ้านกับตัวเมืองมีความสะดวก สภาพสังคมของคนในฺหมู่บ้านมี ความสามัคคีและการร่วมมือกับกิจกรรมของคนในหมู่บ้าน ร่วมกันบ่อย (2) แหล่งที่มาของเงินทุน ที่นำมาใชัในการ ดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นเงินของกลุ่ม เงินที่ได้รับการสนับสนุนกลุ่มนำไปดำเนินการเป็นทุนนหมุนเวียนจัคซื้อวัตถุดิบ/เพื่อ การตลาด ซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์และเพื่อพัฒนาตัวสินค้า สถานที่ผลิตสินค้า เป็นที่บ้านของสมาชิกแต่ละคนและที่ทำการ ของกลุ่ม มีสภาพอุปกรณ์/เครื่องจักร/เครื่องมีอเครื่องใช้ไม่พอเพียง สินค้าหลักของกลุ่มส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูป ขนม ทอผ้า ลักษณะการผลิต มีผลิตที่บ้านของสมาชิกแต่ละคน และผลิตที่ทำการของกลุ่ม แรงงานที่ใช้ในการผลิต สินค้าใช้แรงงานของสมาชิก วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ใช้วัตถุดิบในและใช้วัตถุดิบจากที่อื่น คุณภาพของวัตถุดิบในการ ผลิดสินค้าคุณภาพดี การผ่านการรับรองสินค้าของกลุ่ม ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ขอรับรองมาตรฐาน การปรับปรุงและพัฒนา สินค้ามีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ลักษณะการผลิดสินค้า สินค้าที่ผลิดได้เป็นของกลุ่มและเป็นของสมาชิกแต่ละคน ลักษณะการจำหน่ายสินค้ากลุ่มดำเนินการจัดการขาย/ฝากขายในนามกลุ่มและสมาชิกแต่ละคนจำหน่ายเอง/ฝากขาย ตลาด ที่รองรับสินค้าของกลุ่มส่วนใหญ่ไม่มีตลาครองรับต้องตระเวนขายเอง แหล่งจำหน่ายสินค้าของกลุ่ม (ตลาดหลัก) มีทั้ง ในชุมชนทรึอหมู่บ้านใกลัเคียงในตัวอำเภอหรึอจังหวัด และต่างจังหวัด ผลการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่มีกำไร การจัดสรร ผลกำไร ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดสรรและกลุ่มไม่มีกิจกรรมอื่นนอกจากการผลิตสินค้า การบริหารงานกลุ่ม ทุกกลุ่มมีการเลือก ประธาน/ผู้นำกลุ่มและคณะกรรมการ/คณะทำงานกลุ่มมีการบันทึกบัญชีอย่างง่ายๆ เป็นระบบ ภาวะผู้นำของประธาน กลุ่มและการมีส่วนร่วมของสมาชิก จากผลการศึกษาจะพบว่าประธานกลุ่มมีภาวะผู้นำที่มีความมุ่งมั่นให้กลุ่มประสบ ผลสำเร็จมากที่สุด และประธานกลุ่มมีภาวะผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ความสื่อสัตย์สุจริต วิสัยทัศน์ คิดเก่ง สามารถแก้ไขปัญหาของกลุ่มได้ ยอมรับฟังข้อคิดเห็นของสมาชิกมาก การมีส่วนร่วมของสมาชิก กลุ่มมีการจัด ประชุมสม่ำเสมอ (3) แนวทางแก้ไขในการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพในจังหวัดบุรีรัมย์ควรให้การศึกษาอบรมส่งเสริม ทักษะด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาด แนะนำส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้สามารถเข้าถึงแหล่ง วัตถุดิบที่มีราคาถูก จัดหาและแนะนำแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่าย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2262
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119858.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons