Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/226
Title: ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีซ้ำซ้อนของบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จากต่างประเทศ
Other Titles: The unfair problems on individuals' foreign income double taxation
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัตราสืบสม อนันตพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิจิต ตราชูธรรม, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
การชำระบัญชี
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงการออกกฎหมายภายในเพื่อขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซํ้าซ้อน ระหว่างประเทศในกรณีผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ได้้รับเงินได้จากประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย โดยนำกฎหมายภายในของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฟิลิปปินส์ มาวิเคราะห์เป็นแนวทาง เพื่อออกกฎหมายภายในของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้ ใช้หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) และหลักแหล่ง เงินได้ (Source Rule) ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงเป็นเหตุให้เกิดการเสียภาษีซํ้าซ้อนระหว่างประเทศ (International Double Taxation) ประเทศไทยก็ใช้หลักถิ่นที่อยู่ และหลักแหล่งเงินได้ในการจัด เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเหตุให้เกิดการเสียภาษีซํ้าซ้อนระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน กล่าวคือผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเมื่อมีเงินได้จากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศแหล่งเงินได้แล้ว ยังต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศถิ่นที่อยู่อีก เมื่อมีการนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกัน กับที่่ได้รับเงินนั้น แม้ประเทศไทยจะขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซํ้าซ้อนระหว่างประเทศ โดยการทำอนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Taxation Agreement) กับประเทศต่างๆ ถึงปัจจุบันรวม 54 ประเทศ แต่ก็ขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซํ้าซ้อนได้เฉพาะกรณีผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้จากประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยเท่านั้น หากมีเงินได้จากประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ภาระภาษีซํ้าซ้อนระหว่างประเทศก็ไม่ได้รับการขจัดหรือบรรเทาความไม่เป็นธรรม ในการเสียภาษีจึงเกิดขึ้นจากการที่หากมีเงินได้จากประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยจะเสียภาษีมากกวา่ ผลจากการศึกษาพบว่ามีวิธีแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมดังกล่าว 3 วิธี ได้แก่วิธียกเว้น วิธีเครดิต ธรรมดา และวิธีหักค่าใช้จ่ายผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าประเทศไทยควรใช้วิธีเครดิตธรรมดา โดยออกเป็นกฎหมายภายใน เพราะอนุสัญญาภาษีซ้อนที่ประเทศไทยทำไว้กับประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ ฉะนั้นไม่ว่าผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะมีเงินได้จากประเทศที่มีหรือไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยก็ได้รับการขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซํ้าซ้อนระหว่างประเทศ โดยวิธีเครดิตธรรมดาเท่าเทียมกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/226
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib125090.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons