กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2286
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์แผนกลยุทธ์และฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรลำลูกกา จำกัด จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of strategic plan and financial statement of Lumlukka Agricultural Cooperatives Limited, Pathumthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัญจนา ภัทรวนาคุปต์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรลำลูกกา จำกัด
สหกรณ์การเกษตร--การจัดการ.--ไทย--ปทุมธานี
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
การเงิน--การวางแผน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรึ่องการวิเคราะห์แผนกลยุทธ์และฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรลำถูกกา จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์แผนกลยุทธ์ของสหกรณ์การเกษตรลำถูกกา จำกัด (2) เพื่อ วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรลำลูกกา จำกัด (3) เพื่อวิเคราะห์ขีดความสามารถในการบริหาร จัดการของสหกรณ์การเกษตรลำลูกกา จำกัด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร (Documentary Rescarch) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ประชากร คือ สหกรณ์การเกษตรลำลูกกา จำกัด จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) การตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) การพูดคุยอย่างไม่เป็น ทางการกับ คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ ในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของสหกรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แผนกลยุทธ์ 3) ฐานะการเงิน 4) ขีดความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อให้ทราบผลการ ดำเนินงานของสหกรณ์ ผลการวิจัย ในด้านการวิเคราะห์แผนกลยุทธ์ พบว่า กระบวนการในการกำหนดแผนกลยุทธ์ของ สหกรณ์ยังไม่เป็นไปตามหลักการจัคการเชิงกลยุทธ์ ในการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ สหกรณ์ไม่มีการกำหนด ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ของแต่ละแผนงาน แต่ใช้เป้าหมายเป็นตัววัดความสำเร็จของโครงการ สหกรณ์วัดผล การปฏิบัติงานโดยการเปรียบเทียบแผนกับผล เกี่ยวกับเป้าหมายและงบประมาณ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน แผนงานหรือไม่ สหกรณ์ควรมีการประเมินผลในภาพรวมเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ โดยการ ประเมินผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนกลยุทธ์ที่กำหนดหรือไม่ ประโยชน์ที่สหกรณ์ได้รับจากแผนกลยุทธ์ และความคุ้มค่าจากการใช้งบประมาณในการดำเนินการ เพื่อให้ทราบผลลัพธ์ในภาพรวมว่าประสบความสำเร็จ หรือไม่ ในด้านการวิเคราะห์ฐานะการเงิน พบว่า ผลการดำเนินงานของสหกรณ์หลังสิ้นสุดแผนกลยุทธ์แลัว สหกรณ์มีความพอเพียงของเงินทุนโดยเงินทุนส่วนใหญ่มาจากเงินรับฝากและเงินกู้ อัตราการเติบโตของหนี้สิน เพื่มขึ้น ผู้บริหารต้องเพื่มความระมัดระวังในการก่อหนี้ ผลตอบแทนต่อส่วนของทุนค่อนข้างน้อย สินทรัพย์ ของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้เงินให้กู้ยืม โดยมีลูกหนี้เงินกู้ที่ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนดในอัตราที่สูงกว่า มาตรฐานที่กำหนด สหกรณ์จึงควรเพื่มประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้ ในขณะเดียวกันสหกรณ์มีอัตราการ เติบโตของสินทรัพย์เพื่มขึ้น สหกรณ์ต้องเพื่มความระมัดระวังในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์ หมุนเวียนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อัตราผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ต่ำ สภาพคล่องทางการเงิน น้อย ในด้านการบริหารจัดการ พบว่า สหกรณ์มีอัตราการเติบโตของธุรกิจลดลง สหกรณ์จึงควรเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ ความสามารถในการทำกำไรน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณธุรกิจของสหกรณ์เนื่องจากค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานสูงมากและมีแนวโน้มเพื่มมากขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2286
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112639.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons