กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2294
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพากรของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of tax collection efficiency of Surat Thani Area Revenue Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา ตั้งทางธรรม
กิจจา เพชรพงศ์พันธุ์, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี
การจัดเก็บภาษี--ไทย--สุราษฏร์ธานี.
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บ รายได้ภาษีสรรพากรของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี (2) เพื่อศึกษาประเภทภาษีสำคัญที่ทำรายได้ ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ผลการจัดเก็บรายได้ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปืงบประมาณ 2546 ถึง 2551 ทำการศึกษารายได้หลักคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์และรายได้อื่น โดยใช้ดัชนีค่าความพยายามในการจัดเก็บภาษีอากรเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ภาษีอากร ในช่วงปีงบประมาณ 2546 ถึง 2551 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีสัดส่วนสูงกว่าการจัดเก็บภาษีทุกประเภท และตั้งแต่ปีงบ ประมาณ 2546 เป็นต้นมา การจัดเก็บภาษีทุกประเภทภาษีมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยผลการจัดเก็บภาษีอากรส่วนมากอยู่ในสาขาเมืองสุราษฎร์ธานี และสาขาเกาะสมูย โดยจัดเก็บภาษีรวมกันได้เกินร้อยละ 70 ของการจัดเก็บภาษีอากรทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบพบว่าการจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพากรกับประมาณการใน ปีงบประมาณ 2546 – 2550 และจัดเก็บภาษีได้ตํ่ากว่าประมาณการในปีงบประมาณ 2551 ผลการศึกษาประเภทภาษีสำคัญที่ทำรายได้ให้สำนักสรรพากรพื้นที่สุราษฎร์ธานีพบว่า ในช่วงปีที่ศึกษา สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสูงสุด ตามแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และภาษีที่ทำรายได้อีกประเภทหนึ่ง คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่จัดเก็บได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 53 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 1 เนึ่องจากกรมสรรพากรได้ออกกฎหมายบังคับโดยเพิ่มลักษณะประเภทเงินได้ที่ต้องถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2294
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122344.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons