Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2298
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพร สัจจานันท์th_TH
dc.contributor.authorกัลยา รักษ์ยอดจิตร, 2504-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-01T07:59:30Z-
dc.date.available2022-12-01T07:59:30Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2298en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาโครงสร้างการจัดเก็บภาษีและแนวโน้มการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่อุบลราชธานี (2) เพื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพากร โดยศึกษาความพยายามในการจัดเก็บภาษีสรรพากรของสำนักงานสรรพากรพื้นที่อุบลราชธานี (3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่สรรพากรและลูกจ้างในสังกัด การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลปฐมภูมิตามแบบสอบถามเจ้าหน้าที่สรรพากร จำนวน 118 ราย และข้อมูลทุติยภูมิผลการจัดเก็บภาษีอากร ในช่วงปีงบประมาณ 2541-2550 โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และใช้สูตรค่าดัชนีความพยายามในการจัดเก็บภาษีผลการศึกษาโครงสร้างการจัดเก็บภาษีและแนวโน้มการจัดเก็บภาษี ตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2541-2550 พบว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีสัดส่วนเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 35.84 ของผลการจัดเก็บภาษีสรรพากรรวมและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่สัดส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสัดส่วนการจัดเก็บเป็นอันดับสอง เฉลี่ยร้อยละ 35.80 และมีแนวโน้มการจัดเก็บลดลง ผลการศึกษาประสิทธิภาพหรือความพยายามในการจัดเก็บภาษีสรรพากร โดยเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของภาษีที่จัดเก็บได้กับประมาณการภาษีที่จะจัดเก็บ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541-2550 พบว่ามีค่าพยายามเฉลี่ยเท่ากับ 1 แสดงว่ามีประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอยู่ในระดับปกติหรือระดับที่ยอมรับได้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของภาษีสรรพากร ที่จัดเก็บได้กับผลิตภัถเฑ์มวลรวมรายจังหวัด ระหว่างปี พ.ศ.2541 -2549 พบว่าสามารถจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพากรโดยเฉลี่ยเพียง ร้อยละ 1.29 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด ซึ่งนับว่าน้อยกว่าการจัดเก็บของกรมสรรพากรทั้งประเทศ ที่สามารถจัดเก็บได้เฉลี่ย ร้อยละ 11.21 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศผลการศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารภาษีอากร โดยดูจากผลการจัดเก็บภาษีอากรเฉลี่ยต่อเจ้าหน้าที่หนึ่งรายพบว่าจัดเก็บภาษีโดยเฉลี่ยได้ 3.469 ล้านบาท เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ 5.920 บาท สำหรับภาษีอากรทุกๆ 100 บาท ที่จัดเก็บ และมีต้นทุนจัดเก็บต่อเจ้าหน้าที่ 1 คน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.189 ล้านบาท ในขณะที่กรมสรรพากร จัดเก็บภาษีโดยเฉลี่ยได้ 32.809 ล้านบาท เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ 0.668 บาท สำหรับภาษีอากรทุกๆ 100 บาท ที่จัดเก็บและมีต้นทุนจัดเก็บต่อเจ้าหน้าที่ 1 คน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.213 ล้านบาท ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดเก็บภาษีสรรพากร พบว่าเจ้าหน้าที่มีน้อยไม่เหมาะสมกับปริมาณงาน ผู้เสียภาษีไม่เข้าใจและไม่มีความรู้เรื่องภาษีเท่าที่ควร วัสดุอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ ระเบียบ แนวปฏิบัติไม่ชัดเจน เข้าใจยาก บทลงโทษไม่เด็ดขาด อำนาจการประเมินไม่เต็มที่th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการจัดเก็บภาษี--ไทย--อุบลราชธานีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่อุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeAnalysis of efficiency in tax collection of Ubon Ratchathani Area Revenue Officeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
113094.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons