Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/229
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบงการ บุญสนธิ์, 2518--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-04T06:34:42Z-
dc.date.available2022-08-04T06:34:42Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/229-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลกระทบจากการดำเนินยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553 (2) ปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายการช่วยเหลือเขียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553 และ (3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขนโยบายการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานีการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการที่รับผิดชอบงานศูนย์เยียวยาระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนาและผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 27 คน เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลกระทบจากการดำเนินยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553 ส่งผลให้ผู้ได้รับผลกระทบมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดปัญหาสังคม ตลอดจนไม่เป็นภาระต่อสังคมโดยส่วนรวม ส่งผลทางการเมืองโดยรัฐได้ช่วงชิงจิตวิทยามวลชน ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีและมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อรัฐมากขึ้น และประชาชนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากับภาครัฐมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อผลในระยะยาวที่จะลดความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ วิธีปฏิบัติและหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือมีความเหมาะสม ชุมชนมีความสามัคคี มีเอกภาพในชุมชน มีผู้นำทางความคิด กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมีการรวมกลุ่มในรูปเครือข่ายที่เข้มแข็ง ให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างดียิ่ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ การมอบนโยบายหน่วยงานจากส่วนกลางภาครัฐยังขาดข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ ความเห็นของแพทย์เพื่อแบ่งระดับการบาดเจ็บมีความคลุมเครือหลักเกณฑ์เงินช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้รับช่วยเหลือเยียวยาที่ดีกว่าประชาชนทั่วไป สภาพสังคมวัฒนธรรมมีวิถีชีวิตแบบพอเพียงขาดความกระตือรือรันในการช่วยตนเอง ความหวาดระแวงและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของทุกภาคส่วนของสังคม (3) แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขนโยบายการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรีควรถ่ายโอนภารกิจให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรหลักในการช่วยเหลือ ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย มีความเป็นธรรม เสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ การพัฒนาระบบให้ทันสมัย ดำเนินการเชิงรุกต่อเนื่อง ทั่วถึง และมีการติดตามและประเมินผลการช่วยเหลือเขียวยาผู้ได้รับผลกระทบในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.336-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความขัดแย้งทางสังคม -- ไทย (ภาคใต้)th_TH
dc.subjectการชดใช้ค่าเสียหาย -- ไทย (ภาคใต้)th_TH
dc.titleผลกระทบจากการดำเนินยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553th_TH
dc.title.alternativeThe impact of the alleviation strategies implementation on the people affected in the unrest in Pattani Province B.E. 2547-2553th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2012.336-
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to (1) study The impact of the alleviation strategies implementation on the people affected in the Unrest in Pattani Province B.E.2547- 2553 (2) study contributive and obstructive factors on the alleviation strategies implementation on the people affected in the Unrest in Pattani Province B.E.2547- 2553 and (3) propose some guidelines to improve and modify alleviative policy for people affected in the Unrest in Pattani Province. This study was a qualitative research having population and sample groups as officers who had responsibility at provincial and district alleviation center, local leaders, areal leaders, religion leaders in Pattani Province, totally 27 persons. Research tools are interview and then the data were descriptively analyzed. Results are found that ( 1) the impact of the alleviation strategies implementation on the people affected in the Unrest in Pattani Province B.E.2547- 2553 they have better living, social problems are less through no social burden and in overview social psychological politic are highly effected. The government seizes mass psychology, people feel good to the government having the best positive relationship. They gradually give more participation to solve people-state problems and make the mass to contribute on state as a long-term result to reduce problem’s violence happening in the southern border provinces. (2) The study of contributive factors on the implementation of alleviation strategies to people affected in the Unrest in three southern border provinces is shown that procedure and criteria for the alleviation are suitable, the communities have harmony, unity and leaders. The affected people establish their groups to be strong networks. They exchange their knowledge, help together, encourage themselves and provide the best cooperation with the government. The study of obstructive factors is revealed that , taking the policy from central government still lack the in depth study in southern area , doctor’s opinions on classification of injury level are ambiguous and the subsidized criterion for the officers is better than of general persons. The other obstructive factors are lack of sufficient life style, no ambitious to better living, lack of enthusiasm to helping themselves, suspicion and distrust among all social sectors. (3) The guidelines to improve alleviative policy for people affected in the Unrest are the Office of the Prime Minister should transfer the mission to the Southern Border Provinces Administration Center as a main organization for alleviation because it was a local set up closing to the affected people more than Office of the Prime Minister. All sectors should participate in policy establishment. The system should be modernized. Proactive working should be thoroughly and fairly performed. The alleviation should be systematically and efficiently followed and assessed that can lead to actual practice.th_TH
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons