กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/229
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบจากการดำเนินยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The impact of the alleviation strategies implementation on the people affected in the unrest in Pattani Province B.E. 2547-2553
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
บงการ บุญสนธิ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ความขัดแย้งทางสังคม -- ไทย (ภาคใต้)
การชดใช้ค่าเสียหาย -- ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลกระทบจากการดำเนินยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553 (2) ปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายการช่วยเหลือเขียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553 และ (3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขนโยบายการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานีการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการที่รับผิดชอบงานศูนย์เยียวยาระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนาและผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 27 คน เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลกระทบจากการดำเนินยุทธศาสตร์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553 ส่งผลให้ผู้ได้รับผลกระทบมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดปัญหาสังคม ตลอดจนไม่เป็นภาระต่อสังคมโดยส่วนรวม ส่งผลทางการเมืองโดยรัฐได้ช่วงชิงจิตวิทยามวลชน ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีและมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อรัฐมากขึ้น และประชาชนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากับภาครัฐมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อผลในระยะยาวที่จะลดความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ วิธีปฏิบัติและหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือมีความเหมาะสม ชุมชนมีความสามัคคี มีเอกภาพในชุมชน มีผู้นำทางความคิด กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมีการรวมกลุ่มในรูปเครือข่ายที่เข้มแข็ง ให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างดียิ่ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ การมอบนโยบายหน่วยงานจากส่วนกลางภาครัฐยังขาดข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ ความเห็นของแพทย์เพื่อแบ่งระดับการบาดเจ็บมีความคลุมเครือหลักเกณฑ์เงินช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้รับช่วยเหลือเยียวยาที่ดีกว่าประชาชนทั่วไป สภาพสังคมวัฒนธรรมมีวิถีชีวิตแบบพอเพียงขาดความกระตือรือรันในการช่วยตนเอง ความหวาดระแวงและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันของทุกภาคส่วนของสังคม (3) แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขนโยบายการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรีควรถ่ายโอนภารกิจให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรหลักในการช่วยเหลือ ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย มีความเป็นธรรม เสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ การพัฒนาระบบให้ทันสมัย ดำเนินการเชิงรุกต่อเนื่อง ทั่วถึง และมีการติดตามและประเมินผลการช่วยเหลือเขียวยาผู้ได้รับผลกระทบในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/229
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons