กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2305
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการกู้ยืมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกู้ยืมของครัวเรือนในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of household borrowing behavior and factors relating to household borrowing in Singhanakorn District, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนี กังวานพรศิริ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
เกศนี ตังคะมณี, 2525-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การกู้ยืม
ครัวเรือน--ไทย--สงขลา
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้จ่ายและการกู้ยืมของ ครัวเรือนในอำเภอสิงหนคร จังหวดสงขลา (2) ความเห็นของครัวเรือนเกี่ยวกับผลกระทบจากการกู้ยืม (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการกู้ยืมของครัวเรือน ในการศึกษาครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ช่วงเวลาการ เก็บข้อมูลอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2553 สถิติและวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไคสแควร์ กลุ่มประชากรคือครัวเรือนในอำเภอสิงหนคร จังหวดสงขลาและทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 ครัวเรือน ด้วยการสุ่มตัวอย่าง โดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควต้า ผลการวิจัยพบว่า (1) ครัวเรือนส่วนใหญ่มีการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าอาหารและเครื่องดื่ม มากที่สุด รองลงมาคือการเลี้ยงดูบุพการีและบุคคลในอุปการะ ครัวเรือนส่วนใหญ่มีหนี้สินน้อยกว่า 50,000 บาท โดยไม่มีหลักทรัพย์ในการคํ้าประกัน และระยะเวลาในการกู้ยืมประมาณ 1-5 ปี ครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ต้องมีการกู้ยืมจากสหกรณ์/กลุ่มออมทรัพย์บุคคลภายนอก เครือญาติ กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารพาณิชย์/ธนาคารของรัฐ และ ธุรกิจปล่อยกู้ มีการซื้อสินค้าเป็นเงินผ่อนมากกว่าเงินสด ครัวเรือนนิยมกู้ยืมจากสหกรณ์/กลุ่มออมทรัพย์ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมส่วนใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภค รองลงมาเพื่อการศึกษา (2) ความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการกู้ยืม การกู้ยืมมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการทำงาน แต่มีผลกระทบน้อยต่อประสิทธิภาพการทำงาน และไม่มีผลกระทบต่อความสุขของครอบครัวและการ เสพติดอบายมุข (3) ปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการกู้ยืมของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และอัตราดอกเบี้ย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2305
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119188.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons