กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2309
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการอุปโภคสินค้าแบบผ่อนของพนักงานที่ทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavior regarding hire-purchase goods : a case study of Bangpoo Industrial Estate Blue Collar Workers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จตุพล โชติตติยา, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค
สินเชื่อผู้บริโภค
บัตรเครดิต
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: เนื่องจากการซื้อสินค้าเงินผ่อนและการใช้บริการบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อเงินสดมีปริมาณ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บริการเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่มี รายได้ต่ำทำให้การบริโภคและค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้และส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สิน การศึกษานี้จึงมุ่งที่จะศึกษา พฤติกรรมของการซื้อสินค้าเงินผ่อนและการใช้บัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อเงินสดโดยกำหนดให้นิคม อุตสาหกรรมบางปูเป็นพื้นที่กรณึศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างด้าน รายจ่ายของกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือหรือผู้ที่มีรายได้ต่ำโดยเฉพาะรายจ่ายที่เกิดจากการผ่อนชำระสินค้า (2) ศึกษา เหตุผลที่ทำให้ซื้อสินค้าเงินผ่อน (3) เสนอแนวทางก้ปัญหาเพื่อให้การอุปโภคสินค้าแบบผ่อนน้อยลง ใน การศึกษานี้ได้มีการสัมภาษณ์แรงงานไร้ฝีมือที่ทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จำนวนตัวอย่างที่ 54 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า (1) รายได้รวมเฉลี่ยของครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างที่กำลังผ่อนซื้อสินค้าเท่ากับ 12,000 บาท/เดือน รายจ่ายรวมเฉลี่ยเท่ากับ 8,186 บาท/เดือน รายจ่ายเฉลี่ยจากการผ่อนสินค้าเท่ากับ 1,662 บาท/เดือน (2) เหตุผลของการซื้อสินค้าแบบเงินผ่อนเพราะไม่ต้องใช้เงินก้อนซื้อสินค้า รองลงมาเป็นการได้สินค้ามาใช้ก่อน ซึ่งบัตรหรือร้านค้าจัดโปรโมชั่นดอกเบีย 0% รวมทั้งความพยายามของสถาบันการเงินที่จะขยายการบริการโดยการลดเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขอให้บริการทำให้สามารถเพิ่มลูกค้าในระดับลางได้เป็นจำนวนมาก ส่วนสินค้าที่ซื้อโดยระบบเงินผ่อนและบัตรสินเชื่อเงินสดมักจะเป็นสินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแม้ว่าในยุคปัจจุบันอาจจะเป็นสินค้าที่จำเป็นแต่จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์อาจรอได้ว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเพราะเป็นมือถือรุ่นที่ราคาไม่ถูกนัก สำหรับผลการศึกษาโดยใช้ Binary Logistic Regression พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเงินผ่อนและใช้สินเชื่อเงินสดคือความมั่นคงทางรายได้โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.0780 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 90 สำหรับกลุ่มตัวอย่างผลสรุปออกมาว่าความมั่นคงทางรายได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจว่าจะผ่อนหรือไม่ผ่อน สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับอัตภาพทางการจ่าย การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับข้อเสนอแนะการลดปัญหาการบริโภคสินค้าเงินผ่อนภาครัฐต้องออกกฎหมายเข้มงวดกับ การปล่อยกู้ของสถาบันการเงิน และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาระอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากการผ่อน สถาบัน การเงินต้องเพิ่มการตรวจสอบประวัติทางการเงินของลูกค้า รัฐควรมีการควบคุมธุรกิจเกี่ยวกับการปล่อยลินเชื่อ ต่างๆ ซึ่งพยายามที่จะลดเงื่อนไขของระดับรายได้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกและอาจนำไปสู่การใช้จ่ายที่ไม่สัมพันธ์กับ รายได้
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2309
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112583.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons