Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/230
Title: ตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
Other Titles: The quality indicators of nursing outcomes for patients with hip fracture undergoing hip arthroplasty
Authors: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณี สัตยวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกษร จรรยารัตน์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
กระดูกหัก--การดูแล--การประเมิน
ผู้ป่วย--การดูแล--การประเมิน
การพยาบาล--การประเมิน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการ ประเมินคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยใช้การวิจัย แบบเทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอยางที่ศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม จำนวน 18 คน ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 5 คน พยาบาลปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการ พยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 7 คน อาจารย์พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 4 คน และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จ านวน 2 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 3 รอบ รอบที่ 1 สอบถามผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตำนวณหาค่า มัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหวางควอไทล์ ผลการวิจัยพบวา ตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ในคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาล 25 รายการ ตัวชี้วัดยอย ่ 31 รายการ เป็นรายการที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 25 รายการ จำแนกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มสุขภาพการทำหน้าที่ของร่างกาย จำนวน 5 รายการ ตัวชี้วัดยอย ่ 2 รายการ (2) กลุ่มสุขภาพสรีรวิทยาจำนวน 7 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 17 รายการ (3) กลุ่มสุขภาพจิตสังคม จำนวน 4 รายการ (4) กลุ่มสุขภาพความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 3 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 9 รายการ (5) กลุ่มสุขภาพการรับรู้สุขภาพ จำนวน 2 รายการ ตัวชี้วัดย่อย 3 รายการ (6) กลุ่มสุขภาพครอบครัวหรือผู้ดูแล จำนวน 4 รายการ ผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาลไปใช้ ผ่านเกณฑ์อยู ในระดับ มากที่สุด
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/230
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (1).pdfเอกสารฉบับเต็ม21.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons