Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2326
Title: | ปัจจัยและผลกระทบของมาตรการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีผลต่อการบริโภคของภาคเอกชนในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2548 |
Other Titles: | Factors and impact of personal income tax measures on Private consumption in Thailand During 1997-2005 |
Authors: | มนูญ โต๊ะยามา จารี ธรรมนพรัตน์, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคภาคเอกชน และ 2) วิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีผลต่อการบริโภคภาคเอกชน การศึกษาเป็นการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในรูปของสมการถดถอยเชิงซ้อนด้วยวิธี กำลังสองน้อยที่สุด โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมที่รวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ช่วงเวลาที่ศึกษาตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ.2540 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ.2548 ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคภาคเอกชน ได้แก่ รายได้ที่แท้จริง สินทรัพย์สภาพคล่อง และอัตราเงินเฟ้อ จากการทดสอบค่าสถิติที รายได้ที่แท้จริง มีผลต่อการ บริโภคภาคเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสินทรัพย์สภาพคล่องมีผลต่อการ บริโภคภาคเอกชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ พบว่าไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ซึ่งแสดงถึงอัตราเงินเฟ้อ ไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการบริโภคภาคเอกชน และ 2) ผลกระทบของมาตรการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อการบริโภคภาคเอกชน จากการทดสอบ ค่าสถิติที การใช้มาตรการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีผลต่อการบริโภคภาคเอกชนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า กรณีที่รัฐบาลเปลี่ยนแปลงมาตรการทางด้านภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวกับการเพิ่มค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษี การยกเว้นภาษีอากร สำหรับบุคคลธรรมดาบางประเภทและการเปลี่ยนแปลงช่วงขั้นเงินได้สุทธิในการเสียภาษี ทำให้ ฐานในการคำนวณภาษีและการชำระภาษีลดลง ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงเพิ่มมากขึ้น ผู้บริโภคจะบริโภคเพิ่มขึ้น |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2326 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
115755.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License