Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2328
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิญญา วนเศรษฐth_TH
dc.contributor.authorจีรศักดิ์ ดาวเชิญ, 2528-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.th_TH
dc.date.accessioned2022-12-06T04:31:31Z-
dc.date.available2022-12-06T04:31:31Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2328en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยกับ สหรัฐอเมริกา และ 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดุลการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา วิธีการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยข้อมูลที่ใช้ ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ สหรัฐอเมริกา ดัชนีราคาสินค้านำเข้า-ส่งออกเปรียบเทียบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ (สรอ.) และ ดุลการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายไตรมาสระหว่าง พ.ศ. 2544 ถึง 2560 ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ทางสถิตินั้น ได้ทำการทดสอบความนิ่งของข้อมูลก่อน และหลังจากนั้น จึงทำการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดจากแบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) มูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มเติบโตอย่าง ต่อเนื่องและประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดในช่วงที่ทำการศึกษา ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาไม่เคย มีข้อตกลงทางการค้าในระดับทวิภาคีที่เป็นรูปธรรม ซึ่งนำมาใช้งานได้จริงเลยแม้แต่ฉบับเดียว ทำให้ประเทศไทย เสียโอกาสทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนมีผลกระทบต่อ เศรษฐกิจของไทยมีทั้งผลดีและผลเสีย และเมื่อวิเคราะห์จากสินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เป็น เครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นตลาดสินค้าที่เติบโตอย่างมากเพราะประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา มีการพึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอันดับต้นๆ ของโลก ในส่วนของสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกานั้น อันดับหนึ่งคือ เครื่องบินและส่วนประกอบ และรองลงมาคือ สินค้าอุตสาหกรรมในส่วนของการผลิตขั้นกลาง เช่น แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบยานยนต์ 2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณนั้นตัวแปรทุกตัวนิ่งที่ระดับปกติ ยกเว้นตัวแปรผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหรัฐอเมริกาและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ (สรอ.) ที่มีความนิ่ง ของข้อมูลที่ผลต่างอันดับที่ 1 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรในสมการถดถอยพหุคูณพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยกับดุลการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกามีทิศทางเป็นบวก ที่ระดับนัยสาคัญ 0.01 ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหรัฐอเมริกากับดุลการค้าระหว่างไทยกับ สหรัฐอเมริกามีทิศทางเป็นลบ ที่ระดับนัยสาคัญ 0.1 ส่วนดัชนีราคาสินค้านำเข้าส่งออกเปรียบเทียบนั้นมี ความสัมพันธ์เป็นบวกกับดุลการค้า ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ (สรอ.) ไม่มีความสัมพันธ์กับ ดุลการค้าอย่างมีนัยสำคัญth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectดุลการค้า -- ไทยth_TH
dc.subjectดุลการค้า -- สหรัฐอเมริกาth_TH
dc.subjectการค้าระหว่างประเทศth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดุลการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the trade balance between Thailand and the United Statesen_US
dc.typeThesisthen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study economic and trade situations between Thailand and the United States 2) to study factors affecting to trade balance between Thailand and the United States. The study method consisted of a descriptive study and qualitative analysis. The data used in the study including Gross Domestic Product (GDP) of Thailand, US Gross Domestic Product, Price Index for Import- export Comparison, Thai Baht Exchange Rate per US Dollar and Trade Balance between Thailand and the United States. The data were collected quarterly between 2001 and 2017 and all data were first tested for the stability or the unit root test. Then the ordinary least square was used to estimate the coefficient of the multiple regression models. The results found that 1) the trade value between Thailand and the United States had increased continuously and Thailand gained trade surplus during the studying period. Thailand and the United States had never had a concrete bilateral trade agreement that had actually been implemented causing Thailand to lose economic opportunities. In addition, increasing trade barriers between China and the United States had affected on Thai economy, both positively and negatively. The major Thai’s export products were computers or mobile phones which were the big growing market as US citizens were using technology equipment in their daily life in the first rank of the world. The list of the most imported goods to Thailand was comprised of aircraft and its components, the intermediated industrial products such as circuit boards and automotive components. 2) Unit root test, all variables were stable at level except for the US Gross Domestic Product and the Thai Baht exchange rate per US Dollar, which were stable at first order of difference. The results of the relationship analysis of variables in multiple regression equations showed that the relationship between Thailand's GDP and the trade balance between Thailand and the United States was positive at a significant level of 0.01. The relationship between US GDP and the trade balance between Thailand and the United States was negative at a significant level of 0.1. The comparative import-export price index had a positive impact on the trade balance. Finally, the exchange rate of Baht per US Dollar had no significant relationship with trade balance.en_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159605.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons