Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2328
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดุลการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา
Other Titles: Factors affecting the trade balance between Thailand and the United States
Authors: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีรศักดิ์ ดาวเชิญ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ดุลการค้า -- ไทย
ดุลการค้า -- สหรัฐอเมริกา
การค้าระหว่างประเทศ
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยกับ สหรัฐอเมริกา และ 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดุลการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา วิธีการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยข้อมูลที่ใช้ ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ สหรัฐอเมริกา ดัชนีราคาสินค้านำเข้า-ส่งออกเปรียบเทียบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ (สรอ.) และ ดุลการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายไตรมาสระหว่าง พ.ศ. 2544 ถึง 2560 ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ทางสถิตินั้น ได้ทำการทดสอบความนิ่งของข้อมูลก่อน และหลังจากนั้น จึงทำการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดจากแบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) มูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา มีแนวโน้มเติบโตอย่าง ต่อเนื่องและประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดในช่วงที่ทำการศึกษา ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาไม่เคย มีข้อตกลงทางการค้าในระดับทวิภาคีที่เป็นรูปธรรม ซึ่งนำมาใช้งานได้จริงเลยแม้แต่ฉบับเดียว ทำให้ประเทศไทย เสียโอกาสทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนมีผลกระทบต่อ เศรษฐกิจของไทยมีทั้งผลดีและผลเสีย และเมื่อวิเคราะห์จากสินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เป็น เครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นตลาดสินค้าที่เติบโตอย่างมากเพราะประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา มีการพึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอันดับต้นๆ ของโลก ในส่วนของสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกานั้น อันดับหนึ่งคือ เครื่องบินและส่วนประกอบ และรองลงมาคือ สินค้าอุตสาหกรรมในส่วนของการผลิตขั้นกลาง เช่น แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบยานยนต์ 2) การวิเคราะห์เชิงปริมาณนั้นตัวแปรทุกตัวนิ่งที่ระดับปกติ ยกเว้นตัวแปรผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหรัฐอเมริกาและอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ (สรอ.) ที่มีความนิ่ง ของข้อมูลที่ผลต่างอันดับที่ 1 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรในสมการถดถอยพหุคูณพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยกับดุลการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกามีทิศทางเป็นบวก ที่ระดับนัยสาคัญ 0.01 ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหรัฐอเมริกากับดุลการค้าระหว่างไทยกับ สหรัฐอเมริกามีทิศทางเป็นลบ ที่ระดับนัยสาคัญ 0.1 ส่วนดัชนีราคาสินค้านำเข้าส่งออกเปรียบเทียบนั้นมี ความสัมพันธ์เป็นบวกกับดุลการค้า ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ (สรอ.) ไม่มีความสัมพันธ์กับ ดุลการค้าอย่างมีนัยสำคัญ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2328
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159605.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons