Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2329
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด
Other Titles: An analysis of factors affecting for saving of the BMA saving and caedit Cooperative Limited's member
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
จุฑามาศ จันทรศารทูล, 2517-
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม
สหกรณ์ออมทรัพย์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปรายได้ ค่าใช้จ่ายและการออมของ กลุ่มตัวอย่างสมาชิกสหกรณออมทรัพย์ กทม. จำกัด (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด (3) เพื่อศึกษาแนวโน้มของปริมาณเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด (4 )เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด วิธีวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย โดยสอบถามสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด จำนวน 400 ตัวอย่างในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 นำข้อมูลจากแบบสอบถาม มาสรุปผลสภาพทั่วไปและนำข้อมูลที่คาดว่านำจะเป็นปัจจัยที่กำหนดการออมมาวิเคราะห์ตามแบบจำลองที่ ใช้ในการศึกษาโดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นตรงด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดและนำข้อมูลทุติยภูมิของเงิน ฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด ในช่วงปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2550 มาศึกษาแนวโน้มและพยากรณ์เงินฝาก ในอนาคต โดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นตรง ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด ที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 51-60 ปี การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เป็นข้าราชการ ระดับ 6-8 ซึ่งมี รายได้เฉลี่ย 27,385 บาท/คน/เดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 21311.04 บาท/คน/เดือน จะมีเงินออมมากที่สุด 9,116.46 บาท/คน/เดือน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด คือ รายได้ที่ใช้ จ่ายได้จริงค่าใช้จ่ายและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริงมีความสัมพันธ์โดยตรง กับการออมค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับการออมซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์มีความสัมพันธ์ ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณการออมซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ (3) แนวโน้มปริมาณเงิน ฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ กทม. จำกัด ในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555 เพิ่มขึ้นทุกปีเฉลี่ยปีละ 168.95 ล้านบาท (4) ปัญหาของการออม คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายไม่มากทำให้มีเงินออมน้อย อุปสรรคของการออม คือ สถานที่รับฝากเงินอยู่ห่างไกลจากสถานที่ทำงานของสมาชิก
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2329
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
115694.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons