Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2341
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเกษม จ่าพันดุง-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-06T08:05:07Z-
dc.date.available2022-12-06T08:05:07Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2341-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนในชุมชนกับการเป็นสมาชิก สหกรณ์ (2) ความเห็นของประชาชนในชุมชนกับการเป็นสมาชิกสหกรณ์และ (3) ข้อเสนอแนะในการเป็นสมาชิก สหกรณ์ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในชุมชนที่มีพื้นที่อาศัยในหมู่ที่ 2 3 4 และ 5 ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 262 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม เก็บ ข้อมูลตามสัดส่วนจำนวนประชากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประชาชนในชุมชนเพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนจำนวนเท่าๆ กัน ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป การศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพทำการประมง รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 10,001-30,000 บาท ไม่มีพื้นที่ครอบครอง และเป็นสมาชิกสหกรณ์อื่น (2) ความเห็นของประชาชาชนในชุมชน เกี่ยวกับการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ด้านปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ในการเริ่มเป็นสมาชิกสหกรณ์มีความเหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจร่วมเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้ และสหกรณ์มีทุน ดำเนินงานที่เหมาะสมกับธุรกิจ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การ ได้รับการชักชวนจากคนที่รู้จัก ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ และความเชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ ของไทย ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลต่อการเป็นสมาชิกสหกรณ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส การประกอบอาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน และ จำนวนพื้นที่ถือครอง มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นสมาชิกสหกรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความสัมพันธ์ของ ปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการเป็นสมาชิกสหกรณ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ การศึกษา สถานะในครอบครัว การประกอบอาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน รายได้ และจำนวนพื้นที่ถือ ครอง มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นสมาชิกสหกรณ์อยางมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ข้อเสนอแนะ ในการเป็นสมาชิก สหกรณ์ คือ การประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ตามหมู่บ้านต่างๆ ให้รับทราบถึงกิจกรรมของสหกรณ์ การให้บริการ มีความรวดเร็ว และ การจัดสวัสดิการในด้านการให้กู้ฉุกเฉินth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์พัฒนาลุ่มน้ำเวฬุ--สมาชิก--ทัศนคติth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.subjectสหกรณ์--สมาชิก--ทัศนคติth_TH
dc.titleความเห็นของประชาชนในชุมชนกับการเป็นสมาชิกสหกรณ์พัฒนาลุ่มน้ำเวฬุ จำกัด จังหวัดจันทบุรีth_TH
dc.title.alternativeLocal people opinions toward the membership of Welu River Basin Development Cooperative Limited in Chanthaburi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) the relationships between personal factors of local people and the membership of the cooperatives, 2) local people opinions toward the membership of the cooperatives; and 3) recommendations regarding the membership of the cooperatives. The population of this study was the people who lived in the village number 2, 3 and 4 of Bo Sub-District, Khlung District, Chanthaburi Province, which a sample of 262 were chosen through proportional sampling. Data were collected by using a questionnaire and analyzed by statistical methods, namely frequency, percentage, mean, standard deviation, and Chi-square Test. The results showed that: 1) the numbers of male and female of local people were quite equal. Most of them were 45 years old or over, married, and completed primary education. Most of them were the residents in the area and employed in fishing. The mean of household income was in the range 10,001 - 30,000 baht; they did not own land; and they were the members of other cooperatives. 2) The local people opinions toward the membership of the cooperatives: the internal environmental factors, in overall, their perceptions were at the much level; the important factors were suitability of membership fees, openness of opportunities to join, and suitability of the cooperative working capital in relation to its business. Overall, they also put strong importance on external environmental factors, strongly agreeing with being invited to join by their acquaintances, support and promotion by the government sector, and confidence in the Thai cooperative system. Analysis of the relationship between personal factors and environmental factors that influenced membership of the cooperative, it showed that there was a statistically significant relationship between membership of the cooperatives and the factors of age, marital status, career, membership in community groups, and size of owned land. There was also a statistically significant relationship between membership in the cooperatives and the factors of sex, educational level, family status, career, membership in community groups, income and size of owned land. 3) They recommended that the cooperatives should use public relations to spread news about the activities in many neighborhoods, should provide speedy services, and should provide an emergency loan serviceen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140795.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons