Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2342
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์ อินทศิริ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-06T08:21:59Z-
dc.date.available2022-12-06T08:21:59Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2342-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคลและการตัดสินใจของสมาชิกในการซื้อสินค้าของสหกรณ์ 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ และ 5) เพื่อเสนอแนะการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์ร้านค้า มสธ. จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกของสหกรณ์ร้านค้า มสธ. จำกัด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 2,707 คน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.08 จำนวน 148 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสามัญ เพศหญิง สมรสแล้ว อายุ 51 ปีขึ้นไป การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการ รายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท และการตัดสินใจซื้อสินค้าของสมาชิกส่วนใหญ่ซื้อทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค เหตุผลในการซื้อเพราะมีความสะควก ความถี่ในการซื้อในรอบ 12 เดือน 11-25 ครั้ง ค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้ง คือ ตั้งแต่ 101 บาท ขึ้นไป โอกาสในการซื้อ คือ ซื้อใช้เอง 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของสหกรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับความถี่และค่าใช้จ่ายในการซื้อ อายุ มีความสัมพันธ์กับประเภทสินค้าที่เลือกซื้อและค่าใช้จ่ายในการซื้อ และอาชีพ/งานประจำ มีความสัมพันธ์กับประเภทสินค้าที่เลือกซื้อ 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับประเภทสินค้าที่เลือกซื้อ และความถี่ในการซื้อสินค้า 5) ข้อเสนอแนะการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายของสหกรณ์ คือจำนวนของสินค้าในแต่ละประเภทมีน้อย และควรเพิ่มประเภทของสินค้าให้มากกว่านี้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด--สมาชิกth_TH
dc.subjectการซื้อสินค้า--การตัดสินใจth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleการตัดสินใจซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด จังหวัดนนทบุรีth_TH
dc.title.alternativePurchasing decision of member of Sukhothai Thammathirat Open University Store Cooperative Limited, Nonthaburi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were 1)to study personal characteristics and purchasing decision of Cooperative members 2) to study marketing mix factors influencing the purchasing decision of Cooperative members 3)to study the relationships among personal characteristics influencing purchasing decision of Cooperative members 4)to study the relationship between marketing mix factors influencing purchasing decision of Cooperative members and 5) to suggest on the operation of purchasing business for Sukhothai Thammathirat Open University Store Cooperative Limited. The population of this study was 2,707 members of Sukhothai Thammathirat Open University Store Cooperative Limited on 31st March, 2018. The sample group of 148 samples was determined by using Yamane formula with an error value of 0.08 and by applying accidental sampling method. Tool that was used in this study was survey. Data was analyzed using statistics such as frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, chi-square, and content analysis The results showed that 1) in regards to personal characteristics, majority of general members were female, married, and 51 years of age or older. They graduated with bachelor degrees and worked as a civil servant. Their monthly income was in a range of 10,001-20,000 Baht and the purchasing decision of members was mostly to buy consumer products. The reason for making a purchase was convenient. The purchasing frequency within 12 months was from 11-25 times. The expense paid per time of purchasing was from 101 baht upward. The opportunity to buy was for self-consuming. 2) The marketing mix factors influencing purchasing decision of Cooperative members overall at a high level included distribution channels, pricing, products, and promotion respectively. 3) The relationship of personal characteristics of Cooperative members that influenced purchasing decision at a statistically significant level of 0.05 was gender. It found out that gender was related to purchasing frequency and purchasing expense. Age was related to types of purchasing product and purchasing expense while occupation/permanent job was related to types of purchasing product. 4) The relationship of marketing mix factors influencing purchasing decision at a statistically significant level of 0.05 revealed that the marketing mix factors on the aspect of marketing promotion correlated with types of purchasing products and purchasing frequency. 5) Suggestions on purchasing business operation for Cooperative were that the quantity of each type of products is too low, and therefore, should increase the product quantityen_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
163408.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons