กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2350
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of factors affecting personal income tex evasion : a case study of Songkhla province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา ตั้งทางธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชาคริต ดิษฐานนท์, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการ ค้นหาสาเหตุที่ทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้เงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับภาษีประเภทอื่นๆ รูปแบบการการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผู้มีเงินได้ที่อยู่ ในเขตท้องที่จังหวัดสงขลา รวบรวมข้อมูลจากทะเบียนผู้อื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก สำนักงานสรรพากรภาค 12 ปีภาษี 2545 เป็นต้นมา คัดแยกข้อมูลออกเป็นประเภทกิจการต่างๆ 330 กิจการ พิจารณาวิเคราะห์เฉพาะกิจการที่มีการหลีกเลี่ยงภาษีจำนวนมาก 7 กิจการ สุ่มตัวอย่างและ สอบถามข้อมูลผู้ประกอบการกิจการละ 5-10 ราย เป็นจำนวน 55 ราย เปรียบเทียบจำนวนเงินได้ตาม แบบแสดงรายการภาษีกับข้อมูลทางเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดสงขลา มีการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมคาค่อนข้างสูง จากจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน 702,500 คน เป็นผู้ที่อยู่ในระบบภาษีอากรไม่เกิน 20,000 คน และอยู่นอกระบบภาษี จำนวน 680,000 คน ประเภทกิจการที่หลีกเลี่ยงภาษีมาก ได้แก่ กิจการ จำหน่ายทองรูปพรรณ การจำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว การจำหน่ายผักผลไม้ ปัจจัยที่มีผลต่อหลีกการเลี่ยง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1) ระเบียบ ข้อกฎหมาย ไม่สอดคล้องกับสภาพธุรกิจ หลายประเภท กิจการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ (2) เกิดการเลียนแบบหรือเอาอย่างกัน เกิดจากมีผู้อยู่นอก ระบบภาษีอากรอีกจำนวนมากจึงมีแนวร่วมหรือเอาอย่างกัน (3) ผู้ประกอบกิจการขาดความรู้ความ เข้าใจและไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับภาษีอากร (4) ประชาชนผู้เสียภาษีมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อรัฐบาล ข้อเสนอแนะ (1) รัฐบาลควรปรับปรุงข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจให้ สามารถปฏิบัติได้จริง (2) กรมสรรพากรควรเร่งการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้นเพื่อเพิ่มผลจัดเก็บและ สร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษีอากร (3) นำบทกำหนดโทษมาบังคับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน การบริหารจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2350
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118603.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons