กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2351
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ขบวนการสหกรณ์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน : กรณีศึกษา "กรมตรวจบัญชีสหกรณ์" |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of Thai Cooperative movement from part to present time : a case study "Cooperatives Auditing Department" |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัญญา หิรัญรัศมี จักรี สุจริตธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์--ประวัติ.--ไทย สหกรณ์ การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของขบวนการสหกรณ์ไทย โดยศึกษา วิเคราะห์การพัฒนางานการบัญชีสหกรณ์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และ เพื่อศึกษาถึงปัญหาและแนวทาง การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ไทย โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เข้าไปมีอิทธิพลและความเกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลและ ศึกษาวิเคราะห์โดยรวบรวมเอกสารและข้อมูล(Document Research) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งได้ จากเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมข้อมูลจากเว็บไชค์ของทางราชการ สหกรณ์และเอกชนรวมทั้งดู จากวารสาร ตำรา รายงานเอกสารการวิจัย และวิเคราะห์โดยใช้นโยบายของรัฐ เศรษฐกิจสังคม เทคโนโลยีและ ทฤษฏี McKinsey’s 7s Model ผลการวิจัยพบว่าเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี จะมีผลสะท้อนออกมาในรูปของ นโยบายรัฐบาล ตั้งแต่อดีตแรกตั้งสหกรณ์เป็นต้นมา การบัญชีสหกรณ์เป็นนโยบายของรัฐสู่การสหกรณ์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-10 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของไทย เป็นกรอบการพัฒนา งานสหกรณ์ไทยให้มีความกระชับและชัดเจนยิ่งขึ้น การบัญชีสหกรณ์โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เริ่มมีมาตั้งแต่ ยุคแรกของงานสหกรณ์ไทย (พ.ศ.2459) เริ่มจากหน่วยงานระดับแผนกจนพัฒนาความสำคัญเป็นหน่วยงานระดับ กรมเมื่อปี พ.ศ. 2595 และดำเนินการสืบมาจนปัจจุบัน จากสหกรณ์แรกสมาชิก 16 คน เมึ่อปี พ.ศ.2559 เป็น 6,800 สหกรณ์ มีสมาชิก 10 ล้านคน ทุนดำเนินการ 8.9 แสนล้านบาท ในทุกวันนี้ ซึ่งทั้งหมดส่วนหนึ่ง เป็นผลงานการ พัฒนาส่งเสริมงานการบัญชีสหกรณ์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้เข้ามามีอิทธิพลด้วย ซึ่งการศึกษาได้วิเคราะห์ ภายในของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ใดยใช้ทฤษฏี McKinsey’s 7s Model แยกวิเคราะห์ในเรึ่องคุณค่าร่วม (Shared Values) แผนยุทธศาสตร์ (Strategy) โครงสรัาง (Structure) บุคลากร (Staff) ทักษะ (Skill) ระบบ (System) และ รูปแบบของผู้บริหาร (Style) ทั้งหมดจะสะท้อนออกมาในนโยบายการส่งเสริมงานการบัญชีสหกรณ์ของกรม ตรวจบัญชีสหกรณ์ ชี่งจะให้น้ำหนักไปที่รูปแบบของผู้บริหารมากที่สุดส่วนอึน ๆ อีก 6 ตัว จะเป็นปัจจัย ข้อเสนอแนะ การส่งเสริมพัฒนางานสหกรณ์ควรเป็นนโยบายที่แน่ชัดจากรัฐบาล การพัฒนา ส่งเสริมสหกรณ์ควรได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากรายสหกรณ์สู่กระบวนการสหกรณ์ โดยข้อมูลทางการเงินการบัญชี ที่เป็นมาตรฐาน การพัฒนาสหกรณ์ควรทำเป็นระบบและเชื่อมโยงเครื่อข่ายการส่งเสริม ระหว่างสหกรณ์กับ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และควรส่งเสริมสหกรณ์ในรูปแบบและกระบวนการตามมาตรฐาน ของสหกรณ์นั้น ๆ ด้วย |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2351 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
112623.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License