Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2353
Title: ปัจจัยที่เป็นผลต่อความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
Other Titles: Factors affecting the demand for housing loans in Nakhon Si Thammarat Municipal Area
Authors: สมบัติ พันธวิศิษฎ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชิดพร ชูช่วย, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
สินเชื่อ -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสินเชื่อที่ อยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช 2) ศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการ ขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่มีอายุระหว่าง 20-65 ปี ที่ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช จำนวน 4 อาชีพ คือ ช้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอื่นๆ จำนวน 240 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ การเก็บข้อมลโดยใช้แบบสอบถามในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551- สิงหาคม 2551 สถิติที่ใชัในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และแบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงาน รัฐวิสาหกิจ มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.45 คน โดยมีรายได้รวมของครอบครัวเฉลี่ยต่อ เดือน 40,210.084 บาท รายจ่ายของครอบครัวเฉลี่ย 24,574.4681 บาท ซึ่งระดับรายได้ที่ได้รับ อยู่ในระดับที่มีศักยภาพที่จะชำระคืนสินเชื่อได้ ส่วนปัจัยที่มีผลต่อความต้องการสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัย ได้แก่ ราคาอสังหาริมทรัพย์ จำนวนเงินชำระต่อเดือน ระยะเวลาในการชำระคืน สินเชื่อ และรายได้รวมของครอบครัว โดยปัจจัยด้านราคาอสังหาริมทรัพย์มีผลต่อความต้องการ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 แต่ในทาง ปฏิบัติปัจจัยที่สำคัญที่สุดเป็นรายได้รวมต่อเดือนโดยเฉพาะรายได้ถาวร เพราะแสดงถึง ความสามารถในการชำระหนี้ 2) ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากได้แก่ รายได้ต่อเดือนน้อย อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป จำนวนเงินผ่อนชำระต่อเดือนสูง และวงเงินผู้ที่ได้รับ น้อยเกินไปตามลำดับ โดยปัญหารายได้ต่อเดือนน้อยเป็นปัญหามากที่สุดเนื่องจากรายได้เป็นตัวบ่งชี้ ศักยภาพในการชำระหนี้ของผู้กู้โดยเฉพาะรายได้สุทธิของผู้กู้
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2353
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119358.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons