Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2355
Title: การประเมินผลการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ในจังหวัดระนองที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ 2549
Other Titles: The evaluation of strategic planning of Cooperatives in Ranong Province : a case study of the Cooperatives involve in Fiscal year 2006
Authors: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทร์จิรา สมบุญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--การจัดการ.--ไทย--ระนอง
สหกรณ์--การประเมิน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ตามสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน องค์กรธุรกิจด่าง ๆ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้น สหกรณ์จำเป็นต้องมีการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความยั่งยึน เพื่อเป็นที่พึ่งพิงแก่มวล สมาชิกในการแก้ปัญหาด้านการประกอบอาชีพและการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให์แก่สมาชิกได้ การจัดทำแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่สหกรณ์ต้องจัดทำภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีการ แข่งขันสูง ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะศึกษา ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์และเพื่อประเมินผลการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ใน จังหวัดระนอง ประชากรที่ศึกษาคือสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ใน จังหวัดระนอง ปืงบประมาณ 2549 จำนวน 3 สหกรณ์ โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์ ในจังหวัดระนอง ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัคการ และสมาชิกชั้นนำ สหกรณ์ละ 25 คน กรอกแบบสอบถาม และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของการจัดทำแผนกลยุทธ์ของ สหกรณ์ สหกรณ์ละ 1 คน เมื่อรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์และข้อมูลทุติยภูมิ จากรายงานของสหกรณ์นำมาวิเคราะห์ เนี้อหาในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สหกรณ์รถยนต์โดยสารระนอง จำกัด สหกรณ์บริการเดินเรือ ปากน้ำ-เกาะสอง จำกัดและสหกรณ์การเกษตรสุขสำราญจำกัด เป็นสหกรณ์ขนาดเล็กไม่ค่อย ให้ความสำคัญในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ขาดเงินทุนสนับสนุนแผนงาน/โครงการต่าง ๆ บุคลากร ของสหกรณ์ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำแผนกลยุทธ์ ขาดการศึกษาอบรมเพิ่มพูน ความรู้ใหม่และการศึกษาดูงานสหกรณ์ที่มีการพัฒนาและประสบผลสำเร็จ รวมทั้งสหกรณ์ยังขาด การติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2355
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
112627.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons