กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2374
ชื่อเรื่อง: การเลือกสาขาเศรษฐกิจสำคัญสำหรับการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา : วิเคราะห์โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิตจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Identification of key economic sectors for Nakhon Ratchasima Province development : Nakhon Ratchasima input-output analysis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ตรีรยา พิทโยทัย, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
นครราชสีมา -- ภาวะเศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงฅ์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองปัจจัยการผลิต-ผลผลิตของจังหวัด นครราชสีมา แบบไม่มีการสำรวจโดยการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การผลิตจากแบบจำลองปัจจัยการผลิต-ผลผลิต ของประเทศไทย (2) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในจังหวัดนครราชสีมา โดยพิจารณาผลกระทบทางด้านผลผลิต ด้านรายได้ และด้านการจ้างงานที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครราชสีมา (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา วิธีการวิจัยโดยใช้แบบจำลองปัจัยการผลิต-ผลผลิต ของจังหวัดนครราชสีมา มาพิจารณาจัดลำดับ ความสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ภายในจังหวัดโดยพิจารณาจากผลกระทบไปข้างหน้า และผลกระทบ ไปข้างหลัง ผลของการศึกษาพบว่าผลการเชื่อมโยงทางด้านการผลิต สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล เป็น สาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุดลำดับที่ 1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงทางด้านการผลิต เท่ากับ 4.019165 ผล การเชื่อมโยงทางด้านการจ้างงาน สาขาเกษตรกรรมปศุสัตว์ และการป่าไม้ เป็นสาขาการผลิตที่ สำคัญสูงสุดลำดับที่ 1 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงด้านการจ้างงาน เท่ากับ 33.860317 และผลการ เชื่อมโยงด้านรายได้ สาขาอุตสาหกรรม (การผลิต) เป็นสาขาการผลิตที่สำคัญสูงสุดลำดับที่ 1 โดยมีค่า สัมประสิทธิ์ความเชื่อมโยงทางด้านการจ้างงาน เท่ากับ 3.068445 ซึ่งเมื่อทำการรวมลำดับความสำคัญของแต่ ละสาขาการผลิตในผลการเชื่อมโยงโดยรวมทุก ๆ ด้านเข้าด้วยกันสาขาอุตสาหกรรม (การผลิต) เป็น สาขาการผลิตที่ส่งผลการเชื่อมโยงทั้ง 3 ด้านมากที่สุด หากมีการส่งเสริมในสาขาดังกล่าวจะทำให้ เศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2374
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
129481.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons