กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2380
ชื่อเรื่อง: การใช้จ่าย" เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท" ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Expenditure of Cheque Chuay Chart 2000 Baht and economic stimulus in Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนนิจ ยินดีฉัตร, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เงินสงเคราะห์
ผู้ประสบภัย -- การสงเคราะห์
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของกลุ่ม ผู้ประกันตนก่อนได้รับ “เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท” ของจังหวัดนครพนม และ 2) วิเคราะห์ผลของการ ใช้เช็คช่วยชาติต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครพนม ตามแนวคิดเกี่ยวกับ กระบวนการทำงานของค่าตัวทวี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย ที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค เพื่อประมาณค่าความโน้มเอียงหน่วยสุดท้าย ของการบริโภคของผู้ประกันตน และตัวทวี โดยมีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 350 คน จากสถาน ประกอบการ 9 แห่ง ในจังหวัดนครพนม ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าความโน้มเอียงของหน่วยสุดท้ายของผู้ประกันตนเท่ากับ 0.597 และ 2) ผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท จำนวน 26.644 ล้านบาท มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์มวล รวมของจังหวัดเท่ากับ 37.988 ล้านบาท เนื่องจากมีค่าตัวทวีของเงินโอนเท่ากับ 1.48139 ซึ่งผล การศึกษาแสดงว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการเช็คช่วยชาติ สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจใน ระยะสั้นได้เพราะมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ระดับการบริโภคเพิ่มสูงขื้นนั่นเอง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2380
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124104.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons