กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2387
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนปลูกสวนยางพาราขนาดเล็กในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An analysis of cost-benefit of para rubber small farming investments in Nayung District, Udonthani Province. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จรินทร์ เทศวานิช ธัญญ์รัศม์ สฤษฎีชัยกุล, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี ยางพารา -- แง่เศรษฐกิจ ยางพารา -- ต้นทุนและประสิทธิผล ยางพารา -- ไทย -- อุดรธานี -- แง่เศรษฐกิจ การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจและ สังคมของเกษตรกรเจ้าของสวนยางพาราขนาดเล็ก ในอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี (2) ศึกษา ต้นทุนและผลตอบแทนเศรษฐศาสตร์ (3 ) วิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ การวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูลเกษตรกรเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก 96 ราย และข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง (2550) นำมา วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุน โดยใช้หลักเกณฑ์การตัดสินใจ ในการลงทุน มี 3 ตัวชี้วัด คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) และอัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน (IRR) โดยกำหนดอัตราคิดลด ร้อยละ 8 10 และ 12 ผลการศึกษาพบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของโครงการลงทุนปลูกยางพารา ขนาดเล็ก อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ในอัตราคิดลดร้อยละ 8, 10 และ 12 เท่ากับ 48,899.91, 34,995.25 และ 24,528.21 บาทต่อไร่ ตามลำดับ อัตราส่วนผลประโยชน์ ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.67, 1.56 และ 1.46 ตามลำดับ และอัตราผลตอบแทนภายในของ การลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 12.61, 10.56 และ 8.58 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่าการลงทุนปลูกยางพาราพื้นที่ 1 ไร่ ตลอดระยะเวลาโครงการ 20 ปี ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์คุ้มค่าน่า ลงทุน ส่วนผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ของการ เปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าใช้จ่ายและ/หรือรายได้ 6 กรณี พบว่าการลงทุนปลูกสวนยางพารามี ความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านรายได้และค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับความเสี่ยงตํ่า ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์คุ้มค่ากับการลงทุนในการปลูกสวนยางพาราเกษตรกรควรมีการวางแผนบริหารจัดการสวนยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2387 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
113095.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.99 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License