กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2389
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการออมของข้าราชการส่วนภูมิภาคและข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparative study on saving behavior of provincial government officials and local government officials in Amphoe Mueang Phangnga, Phangnga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธาริน รัตนโนชา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม
ข้าราชการ -- การเงินส่วนบุคคล
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมของข้าราชการส่วนภูมิภาคและ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพังงา 2) ศึกษาปัจจัยมีผลต่อการออมของข้าราชการส่วน ภูมิภาคและข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมีอง จังหวัดพังงา 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทึ่มีต่อการออม ของข้าราชการส่วนภูมิภาคและข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดพังงา 4) วิเคราะห์เปรียบเทียบ พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออม ปัญหาและอุปสรรคในการออมของข้าราชการส่วนภูมิภาคและ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพังงา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการส่วนภูมิภาค และข้าราชการส่วน ท้องถิ่น รวมจำนวน 368 คน แล้วทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนาโดยใข้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรตัว 2 ตัว ทึ่เป็นอิสระต่อกันด้วยค่า independent - samples t test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้าราชการส่วนภูมิภาคส่วนใหญ่ออมโดยการซื้อหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์ (ร้อยละ 88.72 ) ส่วนข้าราชการส่วนท้องถิ่นออมกับสถาบันการเงิน (ร้อยละ 54.95) 2) ทั้งข้าราชการส่วน ภูมิภาคและข้าราชการส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับการออมเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน / เจ็บป่วย (x=4.25, x=4.18) และการออมเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามชรา (x= 4.04 , X-3.91) 3) ปัญหาและอุปสรรค สำคัญทึ่มีผลต่อการออมข้าราชการส่วนภูมิภาคและข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีปัญหาจากการซื้อหุ้นสหกรณ์ ออมทรัพย์ (X =2.32, x=2.23) และฝากเงินกับสถาบันการเงิน ( X =1.91, X =1.72 ) เพราะได้รับ ผลตอบแทนต่ำ นอกจากนี้ ข้าราชการส่วนภูมิภาคมิปัญหาการออมเงินกับ กบข. เพราะเห็นว่า ผลตอบแทนตํ่า (x=2.32) และ 4) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อายุราชการ รายได้ของข้าราชการส่วนภูมิภาคและข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีผลต่อพฤติกรรมการออมที่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติทึ่ระดับ 0.05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2389
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
139670.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons