กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/241
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์วารสารด้านการป่าไม้ในประเทศไทย พ.ศ. 2497-2556
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of forestry journals in Thailand, 1954-2013
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุติมา สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑามาส พัฒนวัชรกุล, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ป่าไม้และการป่าไม้--ไทย--วารสาร
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์การจัดการวารสารและวิเคราะห์เนื้อหาบทความ วารสารด้านการป่าไม้ที่จัดพิมพ์ในประเทศไทย ประชากรคือวารสารด้านการป่าไม้ที่จัดพิมพ์ในประเทศไทย จํานวน 9 ชื่อ จําแนกเป็นวารสารวิชาการ 7 ชื่อ และวารสาร กึ่งวิชาการ 2 ชื่อ ตั้งแต่ปี ที่เริ่มเผยแพร่ของวารสารแต่ละชื่อ จนถึง พ.ศ. 2556 จํานวน 338 ฉบับ และบทความในวารสาร รวม 2,872 บทความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลวารสารและแบบบันทึกข้อมูลเนื้อหา บทความวารสารด้านการป่าไม้ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา การหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบวา 1) ด้านการจัดการวารสาร วารสารวิชาการส่วนใหญ่จัดทําโดยสถาบันอุดมศึกษา กำหนดออกราย 6 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและบทความวิชาการ นําเสนอเนื้อหาการป่าไม้โดยรวม ประเภทบทความวิจัยและบทความวิชาการ มีการอ้างอิงท้าย บทความ มีการประเมินคุณภาพบทความก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ และ เผยแพร่บทความทั้งฉบับกระดาษ และฉบับออนไลน์ ส่วนวารสาร กึ่งวิชาการ จัดทําโดยหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ และ สมาคมวิชาชีพ กำาหนดออกราย 3 เดือน และราย 6 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความวิชาการ ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของหน่วยงาน นําเสนอเนื้อหาการป่าไม้โดยรวม ประเภทบทความวิชาการ และไม่มีการประเมินคุณภาพบทความก่อนพิมพ์เผยแพร่ 2) ด้านเนื้อหา บทความส่วนใหญ่ในวารสารวิชาการ มีผู้เขียน 1 คน สังกัดสถาบันอุดมศึกษา เป็นประเภทบทความวิจัย/ นิพนธ์ต้นฉบับ/ บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น ขอบเขตเนื้อหาด้านชีววิทยา ป่าไม้พื้นที่ศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดนครราชสีมา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขียนเป็นภาษาไทยและมีการอ้างอิงบทความวารสารภาษาอังกฤษ ส่วนวารสารกึ่งวิชาการ บทความส่วนใหญ่มีผู้เขียน 1 คน สังกัดหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ประเภทบทความวิชาการ ขอบเขตเนื้อหาด้านอนุรักษวิทยา พื้นที่ศึกษา ในกรุงเทพมหานคร และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขียนเป็นภาษาไทยและไม่มีการอ้างอิง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/241
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151241.pdfเอกสารฉบับเต็ม42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons