กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2411
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาลในจังหวัดยโสธรในปีงบประมาณ 2548-2550
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of financing management of Hospitals in Yasothon Province in fiscal year 2006-2008.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนี กังวานพรศิริ
นิพนธ์ วงษ์ตา, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาล -- การเงิน
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังของ โรงพยาบาลในจังหวัดยโสธร 2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังทางการเงินการคลังของโรงพยาบาล ใน จังหวัดยโสธร ประชากรที่ศึกษาเป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดยโสธร จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลยโสธร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 370 เตียง โรงพยาบาลชุมชนขนาด 60-150 เตียง จำนวน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา และโรงพยาบาลคำเขื่อนแกัว และโรงพยาบาลชุมชน ขนาด เล็ก 10-30 เตียง มี 6 แห่ง คือ โรงพยาบาลทรายมูล โรงพยาบาลคุดชุม โรงพยาบาลป่าติ้ว โรงพยาบาลมหาชนะชัย โรงพยาบาลค้อวัง และโรงพยาบาลไทยเจริญ วิธีการศึกษา ใช้การวิเคราะห์ผลการรายงานด้านการเงิน จากข้อมูลในรายงานทางการเงิน (แบบ 0110 รง5) ของปีงบประมาณ 2548 - 2550 ที่โรงพยาบาลทุกแห่งได้ รายงานในรูปแบบเดียวกัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังของโรงพยาบาลในจังหวัด ยโสธรทุกแห่ง มีการจัดทำแผนการเงินการคลัง และมีคณะกรรมการเสาระวังสถานการณ์ด้านการเงินการคลัง โดยมีการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินการคลังเพื่อนำไปใช้ในการเสาระวังสถานะทางการเงิน ในการจัดเก็บ และรายงานข้อมูล โรงพยาบาลได้นำระบบบ้ญชีเกณฑ์คงค้างและรายงานทางการเงินการคลัง (0110 รง 5) มาใช้ ทุกแห่ง มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ ซึ่งมีความรู้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านการเงินการคลังในระดับปาน กลาง (2) ในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังทางการเงินการคลัง พบว่า โรงพยาบาลยโสธร มีอัตราส่วน เงินทุนหมุนเวียน มีสภาพคล่องทางการเงินดี อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วอยู่ในเกณฑ์ขาดสภาพคล่อง อัตราส่วนเงินสดต่อหนี้สินหมุนเวียนอยู่ในเกณฑ์มีสภาพคล่องของเงินสดดี ดัชนีสินทรัพย์สำรองสุทธิอยู่ใน ภาวะปกติ เพียงพอไวัสำหรับการใช้บริการได้อย่างน้อย 3 เดือน แสดงว่าโรงพยาบาลยโสธรมีสภาพคล่อง ทางการเงินดี มีประสิทธิภาพในการบริหารรายได้และควบคุมรายจ่ายได้ดี ในกรณีโรงพยาบาลชุมชนพบว่า ใน ภาพรวม มีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว อยู่ในเกณฑ์ขาดสภาพคล่อง ดัชนี สินทรัพย์สำรองสุทธิอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังแสดงว่าขาดประสิทธิภาพในการบริหารรายได้และควบคุมรายจ่าย ในกรณีโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กนั้น โรงพยาบาลป่าติ้ว มีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนเงินทุน หมุนเวียนเร็วอัตราส่วนเงินสดต่อหนี้สินหมุนเวียนอยู่ในเกณฑ์มีสภาพคล่องของเงินสดดี ดัชนีสินทรัพย์สำรอง สุทธิอยู่ในภาวะปกติ ส่วนโรงพยาบาลชุมชนอีก 5 แห่ง ขาดสภาพกล่องทางการเงิน สถานการณ์ทางการเงิน การคลังอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2411
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
115758.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons