กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2414
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting employee saving of Head Office of provincial waterworks authority. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัฐวิชญญ์ จิวสวัสดิ์ นารีรัตน์ จินดาวานิชสกุล, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การประปาส่วนภูมิภาค--พนักงาน การประหยัดและการออม การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงาน การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการออมของพนักงาน การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ วิธีการดำเนินการวิจัยโดยสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจากประชากรที่มีการแบ่งกลุ่มตาม ตำแหน่งระดับงานได้กลุ่มตัวอย่างพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ จำนวน 249 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน อัตราผลตอบแทน ของเงินออม อายุของผู้ออม ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการออมไปในทิศทางเดียวกัน 2) ปัจจัยที่มีผล ต่อการเลือกรูปแบบการออมตามความคิดเห็นของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ มีความสำคัญระดับมากในทุกปัจจัยด้านลักษณะการออม ด้านผลตอบแทนการออม ด้านทำเลที่ตั้ง ของสถาบันการเงิน ด้านการส่งเสริมการตลาดและด้านอื่นๆ ยกเว้นปัจจัยเกี่ยวกับการมีอาคารสถานที่ กว้างขวาง การให้เจ้าหน้าที่มาเยี่ยมถึงบ้านเชื้อเชิญให้ออมและการแจกของที่ระลึกเมื่อเข้าไปติดต่อ เรื่องการออมที่มีความสำคัญระดับปานกลาง สำหรับความคิดเห็นของพนักงานการประปา ส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ เกี่ยวกับการออมผ่านสถาบันการเงิน จะให้ความสำคัญกับสหกรณ์ ออมทรัพย์มากที่สุด รองลงมาเป็นธนาคาร โดยรูปแบบการออมจะเป็นเงินฝากประเภทต่างๆ และ หุ้นสหกรณ์ สำหรับการออมโดยไม่ผ่านสถาบันการเงินจะให้ความสำคัญกับการถือเงินสด เป็นลำดับแรก รองลงมาเป็นการซื้อทองคำ ส่วนวัตถุประสงค์ของการออมมีไว้เพื่อใช้จ่ายในยาม ฉุกเฉินเป็นลำดับแรก รองลงมาเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงของครอบครัวและใช้จ่ายยาม เจ็บป่วย |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2414 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
119192.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License