กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2415
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคของข้าราชการในอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumption behavior of civil servants in Mueang district, Phatthalung province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิพัทธ์ เพชรสุวรรณ, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- พัทลุง
ข้าราชการ -- ไทย -- พัทลุง
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ของข้าราชการในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 2) พฤติกรรมผู้บริโภคซื่งจะเกี่ยวกับกระบวนการ ตัดสินใจซี้อสินค้า 3) ทดสอบเชิงประจักษ์ทฤษฏีการบริโภคตามแนวคิดของเคนส์ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 177 ตัวอย่าง เป็นกลุ่มข้าราชการอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ประมาณค่าสมการถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการบริโภค ของข้าราชการพบว่า พฤติกรรมการบริโภคของข้าราการในอำเภอเมืองพัทลุง แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับต้นทุนในการซื้อสินค้า กลุ่มที่ 2 พอใจกับความสะดวกสบาย ในการซื้อสินค้ามากกว่าที่จะคำนึงต้นทุนในการซื้อสินค้า พฤติกรรมของข้าราการพบว่าเริ่มมีภาระ หนี้ตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานจนถึงช่วงปลายของการทำงาน โดยในช่วงเริ่มต้นของการทำงานภาระหนี้ยัง มีน้อย แต่เมื่อเริ่มช่วงอายุ 26-35 ปี ถึงช่วงอายุ 36-45 ปี เป็นช่วงที่เริ่มสร้างฐานะ เป็นช่วงที่ ข้าราชการมีจำนวนภาระหนี้มากที่สุด แต่เมื่อถึงช่วงปลายของการทำงาน ช่วงอายุ 46-60 ปี ปริมาณ หนี้ลดลง 2) โดยภาพรวมแล้วข้าราชการจะเป็นสมาชิกบัตรเครติดน้อยกว่าไม่เป็นสมาชิกบัตร เครติด การใช้บัตรในการซื้อสินค้าของข้าราการก็ไม่ได้ใช้บัตรในการซื้อสินค้าทุกครั้ง โดย ส่วนมากจะใช้เงินสดซื้อสินค้า จำนวนครั้งที่ใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าในแต่ละเดือนของข้าราชการ โดยเฉลี่ยใช้บัตรซื้อสินค้า 1-3 ครั้ง วงเงินที่ซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 3,000 บาท 3) ค่าความโน้มเอียงในการบริโภค ของข้าราชการมีค่าเท่ากับ 0.876 ค่าตัวกำหนด (R-squared) มีค่าเท่ากับ 0.551 อย่างมีนัยสำคัญ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2415
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118729.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons