กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2417
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เชิงพลวัตของอุปสงค์นำเข้าเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Dynamic analysis of imported demand for automatic data processing bonded to the frame of information technology agreement
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิวัฒน์ กฤชเพชร, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องจักรประมวลผล -- การนำเข้า
การค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์นำเข้า เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ 2) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์นำเข้าเครื่องประมวลผลข้อมูล อัตโนมัติ 3) ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และราคา นำเข้าเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติเฉลี่ย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อคน อัตราแลกเปลี่ยน และมูลค่าส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนเชิงพลวัตเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพใน ระยะยาว วิธีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์นำเข้าเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ ใช้วิธี กำลังสองน้อยที่สุด ศึกษาความยือหยุ่นของอุปสงค์นำเข้าเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ โดย พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้จากการประมาณค่าแบบจำลอง และศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลย ภาพระยะยาวโดยทำการทดสอบโคอินทิเกร์ขั่น และการปรับเปลี่ยนเชิงพลวัตเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพใน ระยะยาวโดยใช้แบบจำลองกลไกการปรับความคลาดเคลื่อน โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาส ตั้งแต่ ไตร มาสที่ 1 พ.ศ. 2541 ถึง ไตรมาสที่ 4 ปีพ.ศ. 2548 รวม 32 ไตรมาส จากกรมศุลกากรและธนาคาร แห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์นำเข้าเครื่องประมวลผลข้อมูล อัตโนมัติ มากที่สุคคือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อคน รองลงมา คืออัตราแลกเปลี่ยน และมูลค่า ส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนตามลำดับ 2) ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์นำเข้าเครื่องประมวลผล ข้อมูลอัตโนมัติ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อคนเท่ากับ 5.275 ต่ออัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 3.343 และต่อมูลค่าส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนเท่ากับ 0.696 3) ในระยะยาว ตัวแปรทุกตัวใน แบบจำลองมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว 1 รูปแบบ โดยการรวมกันเชิงเส้นของตัวแปรทุก ตัวในแบบจำลองมีลักษณะเป็น stationary ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และในระยะสั้น ค่าสัมประสิทธิ์ การปรับตัวเท่ากับ -0.267
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2417
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124446.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons