Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2422
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวีรวัฒน์ สุริยะ, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-14T08:16:18Z-
dc.date.available2022-12-14T08:16:18Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2422-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ (2) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะของสมาชิกสหกรณ์ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะของสมาชิกสหกรณ์ และ (4) หาแนวทางการพัฒนา การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะให้กับ สมาชิกสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จังหวัดตราด จำกัด วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลจากสมาชิกสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตรจังหวัดตราด จำกัด ผู้ผลิตเงาะ ทั้งหมดจำนวน 53 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการจัดประชุมกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 33 ราย สมาชิกมีอายุมากกว่า 60 ปี และจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ สมาชิกสหกรณ์ทั้ง หมดผลิตเงาะทั่วไป และมี 8 ราย ผลิตเงาะ GAP ด้วย ประสบการณ์ในการผลิตเงาะทั่วไปมากกว่า 20 ปี ประสบการณ์ผลิตเงาะ GAP 0 -3 ปี ขึ้นไป การผลิตเงาะทั่วไปใช้แรงงาน 2 ราย การผลิตเงาะ GAP ใช้แรงงาน 1 ราย สมาชิกมีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 25.42 ไร่ เป็นพื้นที่ผลิตเงาะทั่วไปเฉลี่ย 19.58 ไร่ และเป็นพื้นที่ผลิตเงาะ GAP เฉลี่ย 14.88 ไร่ ราคาเงาะทั่วไปเฉลี่ย 20.28 บาทต่อกิโลกรัม ราคาเงาะ GAP เฉลี่ย 30.50 บาทต่อกิโลกรัม รายได้จากการจำหน่ายเงาะทั่วไปเฉลี่ย 185,429.87 บาทต่อปี รายได้เฉลี่ย 14,589.74 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายเงาะ GAP เฉลี่ย 198,299.90 บาทต่อปี รายได้เฉลี่ย 19,725.00 บาทต่อไร่ (2) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม สมาชิกส่วนใหญ่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP ครบถ้วน ทั้งทางด้านแหล่งน้ำ พื้นที่ การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การรักษาคุณภาพภายนอก ผลการผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติ หลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนย้ายผลผลิตในแปลง และการบันทึกข้อมูล ตามเกณฑ์ที่ กำหนดในระเบียบปฏิบัติ GAP (3) ปัญหาสำคัญ ของสมาชิก คือ ด้านการบันทึกข้อมูล เนื่องจากไม่มีเวลาในการบันทึก และแบบบันทึกมีความยุ่งยาก และไม่เข้าใจวิธีการบันทึก (4) แนวทางในการดำเนินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ให้สมาชิกที่ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับเงาะให้ครบถ้วน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำปรึกษา สมาชิกส่วนหนึ่งที่ปฏิบัติ ครบถ้วนแล้วเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา จัดฝึกอบรมสมาชิกด้านการดำเนินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับเงาะ และให้สมาชิกทุกคนสมัครขอรับการรับรองการผลิต GAP เพื่อให้สมาชิกได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะเพื่มขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--ตราดth_TH
dc.subjectเงาะ--การปลูกth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ตราดth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะของสมาชิกสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จังหวัดตราด จำกัดth_TH
dc.title.alternativeApproaches to promoting and developing appropriate good agricultural practices for rambutan producers who are members of Trat Province Agro-business promotion cooperative Ltd.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) the socio-economic conditions of members of Trat Province Agro-business Promotion Cooperative, Ltd. ; (2) their rambutan production following Good Agricultural Practice (GAP) ; (3) their problems and suggestions for appropriate GAP rambutan production ; and (4) approaches to GAP rambutan production among cooperative members. The study population was the 53 members of Trat Province Agro-business Promotion Cooperative, Ltd., who were rambutan growers. The research tools used were a structured interview form and focus group discussions. Data were analyzed to find frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results showed that (1) Most of the members were male, in the over 60 age group, and educated to primary school. Most of them had non GAP and 8 GAP rambutan production, more than 20 years experience growing rambutans and 0-3 years or more producing rambutans following the GAP. For non GAP rambutan production they used an average of 2 laborers, and for GAP rambutan production they used an average of one laborer. The members on average owned 25.42 rai (1 rai = 1,600m2) of agricultural land, out of which 19.58 rai were used for non GAP rambutan production and 14.88 rai were used for GAP rambutan production. The average price for non GAP rambutans was 20.28 baht per kilogram and the average price for GAP rambutans was 30.50 baht per kilogram. The farmers made about 185,429.87 baht a year, or 14,589.74 baht per rai from selling non GAP rambutans, and about 198,299.90 baht or 19,725 baht per rai from selling GAP rambutans. (2) Almost all the farmers complied with all GAP rambutan standards as written in the regulations, including water source standards, land use standards, use of hazardous agricultural substances, maintenance of external fruit quality, safety from pests, harvest and post harvest methods, storage and transport, and record keeping. (3) The main problem experienced by the farmers was difficulty in record keeping, because they lacked time, they found the recording keeping forms too complicated, and they did not understand some of the record keeping methods. (4) The approaches recommended by the farmers for GAP rambutan production were to have the farmers that were not yet fully complying try to upgrade their practices and apply for GAP certification. They should consult with the relevant agencies to get advice and training, and more experienced farmers who were already GAP certified should provide additional consultation for them.-
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext-151040.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons