กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2422
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะของสมาชิกสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จังหวัดตราด จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Approaches to promoting and developing appropriate good agricultural practices for rambutan producers who are members of Trat Province Agro-business promotion cooperative Ltd.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีรวัฒน์ สุริยะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เกษตรกร--ไทย--ตราด
เงาะ--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ตราด
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ (2) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะของสมาชิกสหกรณ์ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะของสมาชิกสหกรณ์ และ (4) หาแนวทางการพัฒนา การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะให้กับ สมาชิกสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตร จังหวัดตราด จำกัด วิธีการศึกษา ศึกษาข้อมูลจากสมาชิกสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตรจังหวัดตราด จำกัด ผู้ผลิตเงาะ ทั้งหมดจำนวน 53 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการจัดประชุมกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 33 ราย สมาชิกมีอายุมากกว่า 60 ปี และจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ สมาชิกสหกรณ์ทั้ง หมดผลิตเงาะทั่วไป และมี 8 ราย ผลิตเงาะ GAP ด้วย ประสบการณ์ในการผลิตเงาะทั่วไปมากกว่า 20 ปี ประสบการณ์ผลิตเงาะ GAP 0 -3 ปี ขึ้นไป การผลิตเงาะทั่วไปใช้แรงงาน 2 ราย การผลิตเงาะ GAP ใช้แรงงาน 1 ราย สมาชิกมีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 25.42 ไร่ เป็นพื้นที่ผลิตเงาะทั่วไปเฉลี่ย 19.58 ไร่ และเป็นพื้นที่ผลิตเงาะ GAP เฉลี่ย 14.88 ไร่ ราคาเงาะทั่วไปเฉลี่ย 20.28 บาทต่อกิโลกรัม ราคาเงาะ GAP เฉลี่ย 30.50 บาทต่อกิโลกรัม รายได้จากการจำหน่ายเงาะทั่วไปเฉลี่ย 185,429.87 บาทต่อปี รายได้เฉลี่ย 14,589.74 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายเงาะ GAP เฉลี่ย 198,299.90 บาทต่อปี รายได้เฉลี่ย 19,725.00 บาทต่อไร่ (2) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม สมาชิกส่วนใหญ่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP ครบถ้วน ทั้งทางด้านแหล่งน้ำ พื้นที่ การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การรักษาคุณภาพภายนอก ผลการผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติ หลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนย้ายผลผลิตในแปลง และการบันทึกข้อมูล ตามเกณฑ์ที่ กำหนดในระเบียบปฏิบัติ GAP (3) ปัญหาสำคัญ ของสมาชิก คือ ด้านการบันทึกข้อมูล เนื่องจากไม่มีเวลาในการบันทึก และแบบบันทึกมีความยุ่งยาก และไม่เข้าใจวิธีการบันทึก (4) แนวทางในการดำเนินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ให้สมาชิกที่ยังไม่ปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับเงาะให้ครบถ้วน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำปรึกษา สมาชิกส่วนหนึ่งที่ปฏิบัติ ครบถ้วนแล้วเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา จัดฝึกอบรมสมาชิกด้านการดำเนินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับเงาะ และให้สมาชิกทุกคนสมัครขอรับการรับรองการผลิต GAP เพื่อให้สมาชิกได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมสำหรับการผลิตเงาะเพื่มขึ้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2422
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext-151040.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons