กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2439
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดทางละเมิดของนายทะเบียนสหกรณ์ต่อการออกคำสั่งทางปกครอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Liability for wrongful acts of the cooperative registrars in issuing administrative orders
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรภพ บัวจีน, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ความรับผิดเพื่อละเมิด
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองและการควบคุมการกระทำทางปกครองและหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองและหลักละเมิดของเจ้าหน้าที่ของไทย ศึกษา วิเคราะห์ปัญหาการใช้อำนาจทางปกครองของนายทะเบียนสหกรณ์ที่ต้องรับผิดทางละเมิดต่อการออกคำสั่งทางปกครอง และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาความรับผิดทางละเมิดของนายทะเบียนสหกรณ์ต่อการออกคำสั่งทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมายตำรา หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความรับผิดทางละเมิดของนายทะเบียนสหกรณ์ต่อการออกคำสั่งทางปกครองสามารถแยกปัญหาได้ 2 ระดับ คือ ระดับหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดทางละเมิด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตามมาตรา 5 และมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหากหน่วยงานของรัฐรับผิดทางละเมิดและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว จะไล่เบี้ยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด พ.ศ. 2539 ซึ่งผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าหากศาลวินิจฉัยเป็นไปตามหลักการทางละเมิดแล้ว ระดับหน่วยงานของรัฐยังคงต้องรับผิดตามกฎหมายละเมิด ส่วนของตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์จะต้องรับผิดการส่วนตัวหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าเป็นการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างแรงหรือไม่ โดยหากเป็นการกระทําตามอำนาจหน้าที่หรือการใช้ดุลพินิจโดยชอบและสุจริต ย่อมไม่ต้องรับผลการละเมิดนั้น ส่วนระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากได้ใช้ดุลยพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้หลักสุจริต หรือ หลักวิชาการ ตามมาตรฐานในวิชาชีพก็ไม่ต้องรับผิดทางละเมิด ซึ่งเป็นเพียงความเห็นต่าง และหากศาลได้พิจารณาตามหลักการละเมิดให้ชัดเจนแล้วก็สามารถไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2439
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons