กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2442
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่งคงชุมชนวัดรังสิต จำกัด จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operation of Wat Rang Sit Ban Munkong Community Housing Cooperative Limited Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ นามวงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วุฒินันท์ มีศิริภัทรกุล, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงชุมชนวัดรังสิต จำกัด--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน 2) ความต้องการของสมาชิกในการดำเนินงาน 3) ปัญหาและข้อ เสนอแนะในการดำเนินงาน และ 4) เสนอแนวทางการดำเนินงานของสหกรณ์เคหสถาน บ้านมั่นคงชุมชนวัดรังสิต จำกัด จังหวัดปทุมธานี ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ 1) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ และสมาชิกชั้นนำ จำนวน 30 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด โดยการประชุมระดมสมองและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) สมาชิก สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงชุมชนวัดรังสิต จำกัด ณ วันที่ 11 มีนาคม 2563 จำนวน 326 คน กำหนดขนาดตัวอย่างได้ จำนวน 180 คน โดยสูตรของทาโรยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการศึกษาใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบตารางควบคู่คำบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพแวดล้อมการดำเนินงานสหกรณ์มี (1) จุดแข็ง คือ คณะกรรมการดำเนินการมีความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ มีเงินแหล่งเงินทุนจากภายใน มีเครื่องเขียนแบบพิมพ์เพียงพอแก่การให้บริการแก่สมาชิก โครงสร้างของคณะกรรมการในการบริหารงานมีความเหมาะสม (2) จุดอ่อน คือ คณะกรรมการดำเนินการยังขาดความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย ข้อบัง คับ และระเบียบสหกรณ์ สหกรณ์ยังไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจอื่นที่สร้างรายได้ ไม่มีสำนักงานเป็นของตนเอง มีเพียงธุรกิจสินเชื่อให้บริการสมาชิกธุรกิจเดียว สหกรณ์มี (3) โอกาส คือ นโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้มีการพัฒนาสหกรณ์ สนับสนุนเงินทุน ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดิน สามารถนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน (4) อุปสรรค คือ นโยบายในการสนับสนุนสหกรณ์ขาดความต่อเนื่อง สมาชิกมีค่าครองชีพสูง และประสบปัญหาจากภัย ธรรมชาติ 2) ความต้องการของสมาชิกในการดำ เนินงานของสหกรณ์มีดังนี้ ธุรกิจสินเชื่อ คือ ต้องการให้มีเงินกู้ฉุกเฉิน ธุรกิจรับฝากเงิน คือ ต้อ งการให้รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์พิเศษ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย คือ ต้องการสินค้า ประเภทอาหารแห้งและอาหารกระป๋อง ธุรกิจบริการอื่นๆ คือ สมาชิกต้องการให้สหกรณ์มีบริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ 3) ปัญหาและข้อ เสนอแนะในการดำเนินงานของสหกรณ์ คือ ธุรกิจบริการอื่นๆ ต้องการให้มีบริการดูแลความปลอดภัย และการขยายฐานสมาชิก สหกรณ์ต้องสร้างความเชื่อมั่น ให้กับสมาชิกในชุมชน และ 4) แนวทางการดำเนินงานของสหกรณ์ (1) กลยุทธ์เชิงรุก คือ กำหนดแนวทางการบริหารงานด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของสหกรณ์ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ (2) กลยุทธ์แนวทางแก้ไข คือนำเทคโนโลยีมาเป็นช่องทางให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแก่คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ และพัฒนาการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ผ่านการใช้เทคโนโลยี สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ (3) กลยุทธ์แนวตั้งรับ คือ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ควรมีกำรจัดทำ แผนกลยุทธ์เพื่อเป็นแผนการดำเนินงานของสหกรณ์ในระยะยาว และ (4) กลยุทธ์ป้องกัน คือ สหกรณ์ควรเพื่มธุรกิจที่ช่วยลดค่าครองชีพให้กับ สมาชิกและระดมทุนภายในสหกรณ์เพื่อให้มีเงินทุนที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2442
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT165956.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons